เขียนโดย: D wisanuporn

เมื่อ: 14 มีนาคม 2563 - 09:08

พรบ. มีไว้ทำไม มีแล้วใช้ตอนไหน ช่วยอะไร ? งานนี้ได้รู้กันทั่ว

         เข้าใจว่าทุกคนต้องเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ พรบ. (พระราชบัญญัติ) แล้ว...สิ่งนี้มีไว้ทำไม ช่วยอะไรเราได้เมื่อเกิดเหตุ จะช่วยซ่อมรถ หรือรักษาคนเจ็บ หรือแค่มีไว้เฉยๆ ไม่ให้ตำรวจจับ เอาเป็นว่างานนี้ เราทีมงาน BoxzaRacing มีคำตอบ ว่าทำไมต้องมี พรบ. ติดรถกัน

 

พรบ. หน้าดาเป็นแบบนี้ มีติดรถไว้ไม่ผิด

 

พรบ. คือ อะไร ?

          พูดง่ายๆ พรบ. คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2536 (ก่อนหน้านี้ไม่บังคับ) ส่วนสาระสำคัญของกฎหมาย และเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย ก็เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการใช้รถนั่นเอง และเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที เมื่อบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต และยังเป็นหลักประกันว่าสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ประสบภัยจากรถ และยังเป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ

 

รถทุกชนิด ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ต้องมี พรบ.

 

รถประเภทไหนที่ต้องทำ พรบ. ?

         รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. คือ รถทุกชนิด ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ส่วนที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่เข้าข่ายว่า รถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ. ด้วย 

         ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้อง ทำ พรบ. ได้แก่ รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด รวมไปถึงรถของกระทรวง ทบวงกรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมาย และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

 

การเฉี่ยวชนหากไม่ถึงกับตัวคน ให้ประกันจัดการ....จบ

 

สิ่งนี้เป็นเอกสารประกันภัย หน้าตาคล้ายกับ พรบ.

 

พรบ. คุ้มครองอะไรบ้าง ?

         เรื่องนี้ยาวซักนิดแต่ ทำความเข้าใจไว้ ได้ประโยชน์กว่า สำหรับความคุ้มครอง (เบื้องต้น) ตาม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น คือ เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย

         แล้วที่บอกว่า เป็นการคุ้มครองเบื้องต้นก็มีรายละเอียด แยกไว้อีก ในกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างใดอย่างหนึ่ง จาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะตาบอด หูหนวก กลายเป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด, สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์, เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว, เสียอวัยวะอื่น, จิตพิการอย่างติดตัว หรือแม้แต่ ทุพพลภาพอย่างถาวร ค่าเสียหายเบื้องต้น นี้ได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน แต่ทั้งนี้จะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งต่อมาเกิดทุพพลภาพ (พิการ) จะได้ค่าชดใช้ รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน ส่วนการเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท และหากเสียชีวิตหลังรับการพยาบาล จะได้ค่าชดใช้รวมกับกับค่ารักษาก่อนเสียชีวิต ไม่เกิน 65,000 บาทเช่นกัน

         มีเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่หลายคนชอบถกกัน สำหรับกรณีที่มีผู้เสียหายจากรถ 2 คันขึ้นไป คือ บริษัทที่รับทำ พรบ. จะเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะคนที่อยู่ในรถที่รับประกันเท่านั้น ส่วนบุคลที่ 3 ที่ไม่เกี่ยวกับการเหตุจากรถ 2 คัน พูดง่าย คนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดเหตุ เช่น คนเดินท้าว คนที่นั่งรอตามป้ายรถ หรือนั่งอยู่ในบ้าน ต้องให้บริษัท ที่รับทำ พรบ. ของรถทั้งสองคัน ร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน (แต่หากเป็นบริษัทประกันเดียวกันก็ไม่ยาก) แต่สิ่งนี้ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้น กับบริษัทที่ทำ พรบ. ต้องทำภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

 

ร้านสะดวกซื้อก็มีขาย พรบ. หรือจะซื้อ ออนไลน์ก็ย่อมได้

 

พรบ. ทำยาก เสียเวลาไหม ?

         การทำ พรบ. วันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป การ ต่อ หรือพูดง่ายๆ คือ การซื้อ พรบ. เพราะในทุกวันนี้มีขายตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัย, ร้านสะดวกซื้อ และอีกหลายแห่ง รวมถึงช่องทางออนไลน์ เพียงแค่ตกลงซื้อ เท่านั้นก็จะมี พรบ. เอาไว้ให้อุ่นใจแล้ว แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็ต้องใช้รถกันอย่างถูกกฎ ไม่ใช่ว่ามีสิ่งนี้แล้วจะทำอะไรก็ได้ งานนี้ พรบ. ไม่ช่วยคนทำผิด และไม่ช่วยซ่อมรถนะ ไม่เกี่ยวกัน รถต้องใช้ประกัน คนใช้ พรบ. อย่าเหมารวมมั่วๆ บอกเลย   

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook