เขียนโดย: D wisanuporn

เมื่อ: 27 ธันวาคม 2564 - 12:00

คนใช้รถในวัย 50+ ควรเลือกประกันรถยนต์อย่างไร

         จริง ๆ แล้วการที่เราให้ผู้สูงอายุขับรถ โดยเฉพาะท่านที่ขับเป็นประจำอยู่แล้วนั้นมีผลดี ช่วยให้ท่านไม่รู้สึกเบื่อ ลดอาการซึมเศร้า และยังเป็นการบริหารสมองได้อีกด้วย แต่ถึงแม้ว่าข้อดีของการที่ผู้สูงอายุขับรถเองจะมีเยอะ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังจากสภาพร่างกาย และฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน การทำประกันรถยนต์ไว้จึงช่วยให้อุ่นใจได้มากขึ้นทีเดียว เรามาดูกันดีกว่า ว่าหากจะเลือกประกันรถยนต์สำหรับผู้สูงอายุแล้ว ควรมีปัจจัยอะไรที่ต้องคำนึงบ้าง

 

 

สิ่งที่ควรระวังในการขับรถของผู้สูงอายุ

         กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาแนะนำวิธีขับขี่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ดังนี้

  • ผู้สูงอายุที่ต้องการขับรถ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสมรรถนะในการขับรถและสภาพความพร้อมของร่างกาย ทั้งการมองเห็น กำลังกล้ามเนื้อ การทำงานของแขนและขาก่อน หากอยู่ในเกณฑ์ปกติก็สามารถขับรถได้
  • หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงที่ทัศนวิสัยไม่ดี เช่น ช่วงกลางคืน ฝนตกหนัก มีหมอกควันปกคลุมเส้นทาง
  • หลีกเลี่ยงการขับรถโดยลำพัง ควรหาเพื่อนร่วมทางในขณะขับรถจะได้ช่วยกันดูเส้นทาง หรือสัญญาณไฟจราจร
  • หากมีโรคประจำตัว ให้นำยารักษาโรค บัตรบันทึกประวัติของโรค และบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดตัวไปด้วยเสมอในกรณีที่ต้องขับรถเอง

 

ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการเลือกประกันรถยนต์สำหรับผู้สูงอายุ

 

1. โรคประจำตัว

         ผู้สูงอายุที่ต้องการขับรถ หรือ ลูกหลานควรสังเกตด้วยว่า ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว หรือมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • โรคข้อเข่าเสื่อม หรือข้ออักเสบตามบริเวณต่าง ๆ  หากเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอาจทำให้ไม่สามารถเหยียบเบรกได้เต็มที่ หรือถ้ากระดูกบริเวณอื่น ๆ เช่น กระดูกคอเสื่อม ทำให้เอี้ยวดูรถได้ลำบาก กระดูกหลังเสื่อม ทำให้รู้สึกปวดหลังและไม่สามารถนั่งขับรถนาน ๆ ได้
  • โรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการมองเห็น เช่น ต้อกระจก ต้อลม ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม
  • โรคสมองเสื่อมในระดับที่เป็นไม่มาก แม้จะยังขับรถได้อยู่  แต่อาจส่งผลให้หลงลืม จำทางไม่ได้ การตัดสินใจและสมาธิไม่ดี เลี้ยวผิด เป็นต้น
  • โรคพาร์กินสัน ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น จึงเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ตามมาด้วย

 

         ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร้ายแรงด้านบนที่ระบุไว้ เช่น โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคเบาหวานในระยะรุนแรง ไม่ควรขับรถอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หากมีโรคประจำตัว ให้นำยารักษาโรค บัตรบันทึกประวัติของโรค และบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดตัวไปด้วยเสมอในกรณีที่ต้องขับรถเอง ดังนั้น หากจะเลือกประกันรถยนต์ที่มีความคุ้มครองเพิ่มเติมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุแล้วล่ะก็ อย่าลืมพิจารณาเงินชดเชยค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ไม้เท้า, รถเข็น, อุปกรณ์ช่วยเดิน หรือ เครื่องช่วยฟัง (ตามคำสั่งแพทย์) เพิ่มเติมด้วย

 

2. รถยนต์ที่ใช้

         หากต้องการซื้อรถใหม่เพื่อให้ผู้สูงอายุขับโดยเฉพาะ คุณอาจเลือกพิจารณาจากความจำเป็นในการใช้รถของท่าน ขับบ่อยแค่ไหน นอกจากนี้การเลือกรถที่มีขนาดเล็กจะช่วยให้ประหยัดค่าเบี้ยประกันลงได้ด้วย และผู้สูงอายุยังสามารถขับขี่บังคับควบคุมได้ง่าย ซึ่งหากซื้อรถใหม่ ประกันรถยนต์ก็ควรใช้ประกันชั้น 1 ครับ เพราะนอกจากประกันรถยนต์ชั้น 1 จะคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่และคู่กรณีแล้ว ยังคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ขับชนรั้ว ชนต้นไม้ด้วย

 

3. เงินชดเชย

         แน่นอนว่าการขับขี่ปลอดภัยนั้นสำคัญที่สุด ไม่มีใครอยากให้มีอุบัติเหตุ แต่หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันการเลือกประกันที่มอบเงินชดเชยผลประโยชน์รายได้รายวัน กรณีผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารบาดเจ็บจนต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล ถือว่าเป็นตัวเลือกที่สำคัญ เพราะลูกหลานอาจจะต้องลางานมาดูแลพ่อแม่ เป็นสาเหตุที่ทำให้ขาดรายได้ ซึ่งประกันที่ผลประโยชน์เงินชดเชยนอนโรงพยาบาลถือว่าทำให้อุ่นใจทั้งครอบครัว

         แต่ขณะหากเดียวกันหากท่านเป็นคนชอบวางของไว้ในรถ หรืออาจจะหลงลืมตามวัย ทำให้ทรัพย์สินนั้นถูกโขมยไปแม้ว่ารถจะจอดอยู่ ก็ควรมองหาประกันรถยนต์ที่คุ้มครองด้านเงินชดเชยการโจรกรรมสำหรับทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่ภายในรถด้วย

 

4. ความช่วยเหลืออื่น ๆ

         เพราะเหตุไม่คาดฝันนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ กรณีที่รถของผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุ การมอบความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เช่น ศูนย์ติดต่อช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง มีบริการขับรถรับหรือส่งรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุเข้าอู่ซ่อม และบริการนัดหมายรับรถ ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ท่านได้มากเลยทีเดียว

          ประกันรถยนต์ รุ่นใหญ่ ใจเก๋า จากกรุงไทยพานิชประกันภัย (KPI) ลองไปดูกันดีกว่า ว่าประกันตัวนี้มีความคุ้มครองที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง

 

 

สิทธิประโยชน์ที่คุณจะได้รับ

1. รับค่าชดเชยกรณีเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในวันละ 1,000 บาท

2. รับเงินชดเชยค่าเดินทางกรณีนำรถยนต์เข้าซ่อม

3. คุ้มครองทรัพย์สินภายในรถจากการโจรกรรม 20,000 บาทต่อปี

4. รับเงินชดเชยค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ 50,000 บาทต่อปี 

5. บริการขับรถ รับ-ส่ง รถยนต์เข้าอู่ซ่อม 2 เที่ยวต่อปี

6. บริการแจ้งนัดหมายและติดตามงานซ่อมรถยนต์

 

         เมื่อได้ทราบทั้งความเสี่ยง และวิธีการเลือกประกันรถยนต์สำหรับผู้สูงอายุแล้ว เราก็จะสามารถเลือกประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมกับความต้องการได้ดี ทั้งนี้สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการซื้อประกันรถยนต์ให้ตนเอง หรือจะเป็นลูกหลานที่ต้องการซื้อประกันรถไว้ให้ท่านเพื่อความอุ่นใจ สามารถเลือกซื้อออนไลน์โดยคลิก ที่นี่   หรือโทร 02-624-1111 ต่อ 4774  เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญประกันรถยนต์

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook