เขียนโดย: Mhee 6524694

เมื่อ: 9 ธันวาคม 2562 - 17:41

จะลงแข่งในรุ่น Thailand Super Eco ต้องเตรียมรถอย่างไรบ้าง

 

            เกมส์การแข่งขันรถยนต์ทางเรียบในรายการ Thailand Super Series ซึ่งเป็นการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบรายการที่ได้ผ่านการรองรับมาตรฐานระดับโลก ของเมืองไทย ซึ่งมีรุ่นในการแข่งขันมากมายตั้งแต่รุ่น Thailand Super Car GTM ไล่จนมาถึงรุ่นเล็กสุดของรายการคือ Thailand Super Eco สำหรับรุ่นนี้ถือว่าเป็นรุ่นที่เล็กที่สุดของรายการแข่งขันและก็เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมอีกรุ่นหนึ่งของการแข่งขันเช่นกัน โดยแฟนๆ มอเตอร์สปอร์ตหลายๆ คนดูแล้วก็เกิดการสงสัยและอยากจะลองนำรถเข้ามาร่วมทำการแข่งขันบ้าง ต้องทำอย่างไร วันนี้เราจะเอารายละเอียดของการปรับแต่งรถว่าทำอะไรได้บ้าง แล้วทำอะไรไม่ได้ เผื่อเพื่อนๆ จะสนใจและเอารถตัวเองมาปรับแต่งและลงทำการแข่งขันในรุ่นนี้ 

 

 

           เริ่มตั้งแต่ตัวรถกันเลยสำหรับรถที่จะลงทำการแข่งขันในรุ่น Thailand Super Eco นี้ ต้องเป็นรถรุ่นที่มีขายในประเทศไทย มียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 2,500 คัน ต้องมีประตูรถไม่น้อยกว่า 2 ประตู ตำแหน่งที่นั่งเดิมอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ระบบขับเคลื่อนเป็น 2 ล้อเท่านั่น ส่วนตัวรถต้องเป็นรุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันหรือย้อนหลังได้เพียง 1 รุ่นเท่านั่น ต้องรักษารูปทรงของรถเป็นหลัง ยกเว้นฝากระโปรงที่สามารถเปลี่ยนวัสดุได้ กระจกหน้าต้องเป็นกระจก 2 ชั้น (Laminated) เท่านั้น ห้องโดยสารห้ามตัดพื้นหรือเปลี่ยนโครงสร้างของตัวถัง ส่วนประตูต้องเป็นประตูเดิมๆ ที่มาจากโรงงาน จากนั้นมาดูกันในส่วนของน้ำหนักตัวรถกันบ้าง โดยน้ำหนักตัวรถเมื่อชั่งพร้อมคนขับต้องไม่ต่ำกว่า 950 กิโลกรัม ถ้าน้ำหนักไม่ถึงสามารถถ่วงน้ำหนักเพิ่มเข้าไปได้โดยต้องยึดให้แน่นหนา ต้องใช้น๊อตขนาดอย่างน้อย 12 mm. จำนวน 2 ตัวขึ้นไปโดยวางให้สมมาตรกัน สำหรับเรื่องน้ำหนักถ่วงนี้ ถ้านักข่งจบการแข่งขันในอันดับที่ 1, 2 และ 3 ในรุ่นต้องใส่น้ำหนักเพิ่มเข้าไป 25, 15, 10 กิโลกรัมตามลำดับ โดยน้ำหนักที่ใส่เข้าไปรวมกันแล้วจะไม่เกิน 50 กิโลกรัม แต่ถ้าสนามไหนไม่จบการแข่งขันทั้ง DNF และ DNS สามารถเอาน้ำหนักถ่วงเพิ่มที่หนักที่สุดออกได้ ตารางน้ำหนักนี้ใช้ทั้ง คลาส C+ และ คลาส C 

 

 

           เรื่องของเครื่องยนต์ในรุ่น Thailand Super Eco โดยตัวของเครื่องยนต์ต้องเป็นเครื่องมาตรฐานโรงงานที่ติดตั้งมาพร้อมกับรถรุ่นนั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าเพื่อนๆ คงย้อนแย้งกันว่าในรุ่น Super Eco เครื่องยนต์จะไม่เท่ากัน ทางผู้จัดได้กำหนดน้ำหนักขั้นต่ำของรถแข่งในรุ่นตามของความจุกระบอกสูบ คือ เครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,200 cc. น้ำหนักรวมคือ 950 กิโกรัม เครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 1,201-1,250 cc. น้ำหนักรวมคือ 965 กิโลกรัม และเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 1,251-1,300 cc. น้ำหนักรวมคือ 1,010 กิโลกรัม และรถที่มีเครื่องยนต์ความจุกระบอกสูบเกิน 1,300 cc. ไม่อนุญาติให้ลงแข่งในรุ่นนี้  แต่บางรุ่นที่เป็นเกียร์ CVT สามารถเข้าร่วมทำการแข่งขันได้แต่น้ำหนักรวมจะแตกต่างกันออกไปตาม ซีซี คือเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,200 cc. น้ำหนักรวมคือ 900 กิโกรัม เครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 1,201-1,250 cc. น้ำหนักรวมคือ 915 กิโลกรัม และเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 1,251-1,300 cc. น้ำหนักรวมคือ 960 กิโลกรัม ซึ่งรุ่นที่เป็นเกียร์ CVT นี้จะรับเฉพาะ Class C เท่านั้น 

 

 

          ในส่วนของเครื่องยนต์กันบ้างดีกว่า โดยเครื่องยนต์ต้องมีกำลังอัดไม่เกิน 11.0 :1 กล่องควบคุมเครื่องยนต์ใช้กล่องอะไรก็ได้ วาล์วและสปริงวาล์วยี่ห้ออะไรก็ได้ ปรับแต่งพอร์ทไอดีและไอเสียในฝาสูบได้ ตำแหน่งของเครื่องยนต์ต้องเป็นไปตามแบบของรถยนต์รุ่นนั้นๆ ไม่สามารถเลื่อนและจุดยึดเครื่องยนต์หรือแท่นเครื่องยนต์ต้องเป็นจุดเดียวกับโรงงานผู้ผลิต ห้ำมติดตั้งระบบอัดอากาศเพิ่มไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด และห้ามใช้ไนตรัส หรืออื่นๆ ที่มีอ็อกซิเจนสูงกว่าบรรยากาศ และไม่ผ่านอุปกรณ์ระบายความร้อนใด อากาศที่ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงต้องเป็นอากาศที่มาจากบรรยากาศในสนามแข่งขันเท่านั้น หัวฉีดอิสระ ระบบจุดระเบิดคงเดิมจากโรงงานผู้ผลิต ห้ามเปลี่ยนแปลง ท่อไอดีและท่อร่วมไอดี อนุญาตให้อัพเกรดเป็นรุ่นปัจจุบันได้ แต่ต้องใช้จุดยึดเดิมของโรงงานทั้งหมดโดยไม่มีการดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น แต่สามารถเปลี่ยนลิ้นไอดีได้ และต้องมีขนาดไม่เกิน 49 มิลลิเมตร โดยระบบเป็นไปตามรูปแบบเดิมจากโรงงาน ชาร์ปข้อเหวี่ยง และชาร์ปก้านสูบสามารถ Under Size ได้ห้ามมีร่องรอยของการปรับแต่งใด ๆ Camshaft ต้อง Standard เท่านั้น ต้องตรงกับรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทย โดยทางผู้จัดฯ จะเป็นผู้ระบุ part number (ห้ามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น) กล่องกรองอากาศต้องใช้ของเดิมที่ติดมากับรถรุ่นนั้นๆ ห้ามปรับแต่งใดๆ ทั้งสิ้น ห้ามใช้ระบบ Dry Sump

 

 

           ระบบส่งกำลังและระบบขับเคลื่อน ห้ามระบบเกียร์ Sequential หรือระบบ Semi – Auto หรือระบบด๊อกบ๊อกซ์ (DogBox)และต้องรักษารูปแบบการเปลี่ยนเกียร์ในรูปแบบ “H” Pattern ไว้ ห้ามใช้ระบบ Traction Control หรือระบบอื่นที่มีรูปแบบการทำงานใกล้เคียงกับ Traction Control ฟลายวีล, คลัช เฟืองท้ายอิสระ อนุญาตเฉพาะเกียร์ Synchromesh H Pattern ทั้งชนิดเฟืองตรง และเฟืองเฉียงที่ผลิตมาเป็นอุปกรณ์มาตรฐานประจำรถ ที่ขายในท้องตลาด สามารถใช้เกียร์ข้ามรุ่นของยี่ห้อเดียวกันได้ และปรับเปลี่ยนอัตราทดได้

 

 

          ระบบช่วงล่าง จุดยึดของช่วงล่าง ต้องเป็นจุดเดิมทั้งหมด โช้คอัพ, สปริง และเหล็กกันโคลง สามารถเปลี่ยนได้อิสระ อนุญาตให้เปลี่ยนจุดยึดเบ้าโช้คบนเป็นชนิด Ball Joint สำหรับปรับเปลี่ยน Camber ได้ และต้องเพิ่มน้ำหนัก +10kg นักแข่งและทีมแข่งจะต้องแจ้งให้ทีมตรวจสภาพทราบ หากไม่มีการแจ้งเมื่อตรวจพบภายหลังจะมีบทลงโทษจากผู้จัดการแข่งขัน เปลี่ยนวัสดุของบูชยาง เป็นวัสดุอื่นได้แต่ห้าม Ball Joint ยกเว้นจุดยึดเบ้าโช้คบน

 

 

         ระบบเบรค ห้ามใช้ระบบเบรค ABS เปลี่ยนจานเบรค และคาลิปเปอร์ได้ ระบบระบายความร้อนของเบรคให้ใช้ได้ เฉพาะอากาศที่มาจกกบรรยากาศในสนามแข่งขันเท่านั้น สามารถเปลี่ยนระบบเบรคแบบดรัม เป็นระบบดิสค์เบรคได้ ต้องใช้ล้อขนาด 15” เท่านั้น ยางที่ใช้ในการแข่งขัน ต้องเป็นยางที่มีสัญลักษณ์ และจัดจำหน่ายโดยผู้จัดการแข่งขัน คือ ยาง Radial ยี่ห้อ MICHELIN Pilot Sport 3 ขนาด 195/50–R15 

 

 

          เป็นกติกาการทำรถเข้าร่วมทำการแข่งขันในรายการ Thailand Super Series  ในรุ่น Thailand Super Eco สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thailandsuperseries.net/ เผื่อคุณอยากจะเข้ามาร่วมทำการแข่งขันในรุ่นนี้จะได้ทำรถให้ถูกกติกา ของผู้จัดการแข่งขัน 

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook