ฟิล์มใสลดความร้อนได้จริงหรือ ? เป็นคำถามที่คนสมัยก่อนคาใจ เมื่อเห็นวัยรุ่นยุคใหม่แต่งรถด้วยฟิล์มใสแจ๋ว จนเห็นของแต่งเจ๋งๆในรถ อย่างที่คนสมัยก่อนไม่เคยทำได้ จนอดสงสัยกันไม่ได้ว่า ฟิล์มที่แสงส่องผ่านได้ปรุโปร่งขนาดนี้ ขับแล้วไม่ร้อนกันเหรอ วันนี้มีเฉลยแล้วว่าติดแล้วเย็นจริง แต่ก่อนจะรู้ว่าทำได้ยังไง เราต้องทำความเข้าใจตัวการที่ทำให้เกิดความร้อนเสียก่อน
ที่มาของความเชื่อสมัยก่อน เกิดจากหลายคนเมื่อออกไปกลางแดด เจอแสงจ้าแล้วรู้สึกร้อน พอกลับเข้าร่มแสงน้อยลงก็รู้สึกเย็นลง ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า แสงจ้าทำให้ร้อน แต่ความจริงแล้วไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะแสงสว่างเป็นแค่คลื่นชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่มาพร้อมกับแสงแดดด้วย นั่นแหละที่ทำให้เรารู้สึกร้อน มันคือรังสีอินฟาเรด (Infrared) ที่มาจากดวงอาทิตย์นี่เอง
รังสีนี้มาจากดวงอาทิตย์ ที่แบกเอาความร้อนจากดาวดวงใหญ่ เดินทางด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังโลกด้วยกัน พูดไปอาจจะไม่เห็นภาพ ลองดูคลื่นอินฟราเรดในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา อย่างเครื่องไมโครเวฟที่เราใช้อุ่นอาหาร ก็ใช้รังสีอินฟาเรดนั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวไม่ได้ใช้แสงแดดมาใช้งาน แต่ใช้รังสีดังกล่าวแบบเข้มข้นต่างหาก เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ต่อให้ไม่มีแสงแดด แต่ถ้ามีรังสีอินฟาเรดก็ทำให้วัตถุร้อนได้ เช่นเดียวกันกับรถยนต์ ต่อให้เราใช้ฟิล์มทึบแสงสุดๆ แต่ไม่ได้มีการเคลือบกันอินฟาเรดที่ดี ก็จะทำให้ผิวหนังเราตอนขับรถ ก็แทบจะไม่ต่างอะไรกับหมูสุกในเครื่องไมโครเวฟนั่นแหละครับ
วิธีเลือกฟิล์มกรองแสงรถยนต์แบบใส ดูอย่างไรว่าติดแล้วเย็นได้จริง ก็ต้องดูค่าการกันรังสีอินฟาเรด อย่างเช่นฟิล์ม SmartTec รุ่น สมาร์ท คูล วีทู เอ็มเพอเรอร์ CH7080 และ SM-C 7080 Sol (โทนสีฟ้า) ที่แสงทะลุผ่านได้เยอะ แต่อินฟาเรดเข้าไปแทบไม่ได้ ทำให้ติดแล้วเย็นจริง ทำให้รถไม่เป็นเตาอบ แถมยังโชว์ของแต่งภายในรถได้ด้วย ถ้าไม่เชื่อให้ลองไปสัมผัสฟิล์มดังกล่าวได้ด้วยตัวเองครับ จะได้ล้มล้างความเชื่อที่เราเคยชินมาแบบผิดๆกัน ก็เป็นอีกเรื่องที่เราสรรหามาใส่สมอง ให้เรารู้กันอย่างถูกต้อง และยังมีเรื่องอื่นๆรอให้เราไปค้นพบอีก อย่าลืมติดตามกับคอลัมน์ความรู้เรื่องรถกันนะครับ