Bugatti Chiron รถยนต์ 1,500 แรงม้า จากโรงงาน
เพื่อนๆ คงเคยได้ยินคำพูดพวกนี้ว่า “รถคันนี้แรงจัง” “รถคันนี้เร็วจัง” กันมาบ้าง แต่ประเด็กหลักคือ “เร็วกับแรง” มันต่างกันยังไง อะไรคือ ตัวที่ตัดสินว่าคันนี้ เร็วหรือแรงกันแน่ สำหรับวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันครับว่าคำว่า เร็วกับแรงนั้น มันต่างกันอย่างไร ซึ่งเจ้า 2 คำนี้ มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกกันว่า “แรงม้า” กับ “แรงบิด” นั่นเองครับ แล้วแรงม้ากับแรงบิดมันต่างกันอย่างไรล่ะ คำถามที่ 2 จึงเกิดขึ้นมาให้เราหาคำตอบกัน เอาล่ะครับ เรามาเริ่มทำความรู้จักกันว่า อะไรคือ แรงม้า และ แรงบิด
VW Touareg มีแรงบิดมาจนลาดเครื่องบินได้สบายๆ
แรงบิด ( Torque )
แรงบิด ถ้าตามหลักแล้วมันคือ แรงที่จะไปทำให้สิ่งของหมุน ฉะนั้นในที่นี้คือ แรงบิดที่ส่งจากเพลาขับนั้นเองครับ และเมื่อเพลาถูกหมุน นั่นหมายถึง รถยนต์นั้นเคลื่อนที่ ฉะนั้นหากรถที่มีแรงบิดสูง นั่นหมายถึงรถคันนี้ สามารถออกตัวได้รวดเร็ว รวมไปถึงเวลาเร่ง 0-100 กม./ชม. ก็จะเร็วขึ้นตามไปด้วยครับ ปัจจุบันนั้นจะใช้หน่วยวัดกัน 3 แบบ นั่นคือ
แต่โดยส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยหน่วย นิวตัน-เมตร เสียมากกว่าครับ เพราะหน่วยวัดนิวตัน จะเป็นที่นิยมทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามยังมีการวัดเป็นหน่วยอื่นๆ อยู่เช่นกัน ฉะนั้นการแปลงค่าให้เป็น นิวตัน-เมตร ก็คงต้องใช้การคำนวนสักหน่อยนะครับ โดยค่า 1 ฟุต-ปอนด์ เท่ากับ 1.35 นิวตัน-เมตร ส่วนค่า 1 กิโลกรัม-เมตร เท่ากับ 9.8 นิวตัน-เมตร
แรงบิดมาเต็มทั้งเครื่องเบนซินและไฟฟ้าล้วน
แรงม้า ( Horsepower )
คำนี้ไม่ใช่คำใหม่อะไรนะครับ เพราะมันเกิดมาตั้งแต่ปี 1750 นู่นเลยครับ เป็นยุคสมัยที่ยังใช้แรงงานของสัตว์จำพวกม้าอยู่เป็นหลัก ถ้าแม้จะมีเครื่องยนต์ไอน้ำเกิดขึ้นมา แต่ก็ยังไม่มีใครให้ความสนใจมากเท่าไหร่นัก ซึ่งผู้ที่ได้คิดค้นคำศัพท์แรงม้านี่ขึ้นมาคือ นักประดิษฐ์ชาวสก๊อตแลนด์ ที่ได้แรงบัลดาลใจจากหนังสือของผู้ที่คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำอย่าง โทมัส ซาเวรี่ ที่เคยเทียบไว้ว่า "เครื่องยนต์ไอน้ำ 1 เครื่อง สามารถทำงานได้เร็วกว่าม้า 2 ตัว และอาจจะเสริมให้มันทำงานได้มากขึ้นไปเรื่อยๆ” ฉะนั้นจึงเป็นไอเดียของการเทียบแรงม้าทำให้รู้ว่าเครื่องนั้นๆ มีความเร็วขนาดไหน
Horsepower ที่แท้ทรู
โดยที่สูตรคำนวนนั้น บางคนก็ว่าเป็นสูตรง่ายๆ แต่ถ้าล้วงให้ลึกลงไปกว่านั้น จะค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งที่มาของสูตรนั้นมาจาก พลังงาน = แรง X ระยะทาง ผลลัพธ์เป็นพลังงานต่อหน่วยเวลา หรือที่เรียกว่า Watt นั่นเองครับ โดยที่ 1 แรงม้า จะเท่ากับ 746 วัตต์ อาจฟังดูยาก แต่จริงๆ ของพวกนี้เราไม่ต้องไปคำนวนเองครับ เพราะทางผู้ผลิตจะคำนวนให้มาอยู่แล้ว โดยหน่วยที่นิยมใช้คือ แรงม้า หรือ HP และยังมีหน่อย KW และ PS ที่เคยผ่านตากัน โดยแปลงหน่วยได้คือ 1 KW = 1.34 HP และหน่วย 1 PS = 0.98 HP นั่นเองครับ
หลักการคิดต่อหน่วยของแรงม้า
ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและความแรง
ก่อนที่เพื่อนๆ จะซื้อรถหนึ่งคันนั้น ทางเซลล์จะต้องทำการท่องโบรชัวร์ให้ฟังว่า คันนี้มีแรงบิดเท่านี้ มีแรงม้าเท่านั้น เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ แต่ต้องบอกก่อนว่า แรงม้าที่เขาบอกนั้นคือ แรงม้าสูงที่สุด ณ รอบนั้นๆ หากไม่ถึง หรือเกิน แรงม้าอาจได้ไม่ถึงขั้นนั้นนะครับ หากจะคำนวนว่าในรอบที่มีแรงม้า หรือแรงบิดสูงที่สุดนั้น จะมีแรงม้าหรือแรงบิดที่เท่าไหร่ ให้ลองใช้สูตรคำนวนนี้ครับ
Nissan GT-R ที่มีแรงม้าไม่ได้ไว้คุย แต่แข่งได้จริง
สำหรับรถทุกคันต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงกว่าอีกอย่าง เช่น รถยนต์ A มีแรงม้าที่ 200 แรงม้าที่ 4,500 รอบต่อนาที มีแรงบิดที่ 400 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที จะเห็นว่าแรงบิดของคันนี้สูงและมาในรอบที่ค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นเรามารถวิเคราะห์ได้ว่าคันนี้ จะมีการออกตัวที่ค่อนข้างเร็ว แต่กว่าจะไปถึงแรงม้าสูงสุดอาจจะต้องลากรอบนิดหน่อยเป็นต้นครับ โดยรถคันนี้ไม่เน้นความเร็วปลายมากนัก เหมาะสำหรับลากจูงหรือออกตัวได้แรง นี่เราได้อธิบายแบบไม่ลงลึกในสูตรคำนวนและกราฟเชิงลึกแล้ว หวังคงจะได้เข้าใจกันง่ายๆ นะครับ และนี่ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่เรานำมาฝากกันนะครับ สำหรับครั้งหน้าอย่าลืมติดตามคอลัมน์ความรู้เรื่องรถแบบนี้ได้ที่ BoxzaRacing นะครับ