สวัสดีครับเพื่อนๆ กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ กับมุมสาระดีๆ ที่ทางเรารวบรวมมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน หลังจากที่ทางทีมงาน BoxzaRacing เคยนำเอาเทคโนโลยี ALA หรือ Activata Lamborghini Aerodynamic มาให้เพื่อนได้อ่านกัน รถที่สามารถพังสถิติ ของ Aventador SV ที่ทางผู้ผลิต ภูมิใจนักภูมิใจหนาว่าไร้ผู้เทียมทาน จนกระทั้งโดนเด็กรุ่นใหม่อย่าง Huracan Performate เชิญลงมาจากบัลลังก์ด้วยระบบแอโร่ไดนามิคส์ใหม่ล่าสุด ทำให้เพื่อนๆ หลายคนเริ่มหันมาสนใจสิ่งที่เรียกกันว่า Downforce กันมากขึ้น
ความจริงแล้วเจ้า Downforce นั้น มันก็คือ ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกกันว่า Aerodynamic นั่นเองครับ พูดกันตรงๆ ผมอยากจะอธิบายให้หมดเปลือก เรื่องของ Aerodynamic แต่ต้องขออภัยจริงๆ ด้วยเนื้อหาที่จะค่อนข้างจะมีสูตรทางคณิตศาสตร์เยอะพอสมควร ฉะนั้นจะอธิบายเฉพาะว่ามันคือ อะไรแล้วมันสามารถช่วยให้รถเร็วขึ้นจริงหรือ ?
คำว่า Downforce นั้น ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ตามวงการมอเตอร์สปอร์ทตั้งแต่ Formula 1 ลากยาวไปจนถึง Moto GP ที่มีการเพิ่ม Downforce ให้กับรถคันนั้นๆ เข้าเรื่องกันเลยครับคำว่า Downforce คือ แรงลมที่ปะทะเข้ามาทำให้เกิด แรงกด ตามธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยให้รถยังคงเกาะอยู่บน Track ได้ดีขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเสริมเรื่องความหนึบนั่นเอง ผลลัพธ์ต่อมาเมื่อรถยึดเกาะดี ก็สามารถเข้าโค้งได้เร็วมากขึ้นส่งผลให้เวลาต่อรอบนั้นเร็วขึ้นอย่างที่ Huracan Performante ได้ทำที่สนาม Nürburgring นั่นเองครับ ซึ่งผู้คิดค้นหลักการ Downforce จริงๆ ก็คือ Isaac Newton ทีคุ้นหูเราในหนังสือเรียนมัธยมนั่นเองครับ
โดยที่ผมจะอธิบายไปอย่างช้าๆ นะครับ เริ่มจากหลักการทำงานของ Downforce นั้น จะอิงมาจากสูตรคณิตศาตร์หลายอัน เกรงว่าถ้าเพื่อนๆ เห็นแล้ว อาจจะปิดไปซะก่อน เอาเป็นว่า มันก็ทำงานเมื่อเราทำการเข้าโค้งด้วยความเร็วแล้ว จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า แรงเร่งหนีจุดศูนย์กลาง เพราะมวลน้ำหนักของรถคงที่ ทำให้เมื่อเลี้ยวรถจะไม่สามารถไถลออกไปจากโค้งได้ เนื่องจากมีแรงเสียดทานยางของรถกระทำกับพื้น Track ทำให้แรงเสียดทาน = ค่าสัมประสิทธิ์ของยาง x น้ำหนักรถ ยิ่งแรงเสียดทานมาก ยิ่งเข้าโค้งไว โดยเมื่อใส่ยางหนึบๆ ก็แล้วยังไม่พอ จะเพิ่มน้ำหนักรถก็กลัวจะเร่งอืด จึงเกิดแนวคิดที่ว่า ไม่ต้องเพื่มน้ำหนักรถ แต่ควรจะเพื่ม แรงกด เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานมากระทำกับยางดีกว่านั่นเองครับ
เพื่อตัวอย่างที่เห็นภาพมากขึ้น ให้เพื่อนๆ นึกถึงปีกเครื่องบิน ที่รูปทรงตัดขวางจะเป็นแบบข้างบนนูนข้างล่างเรียบ ทำให้อากาศเวลาไหลผ่านด้านบนใช้เวลานานกว่าด้านล่าง ทำให้ด้านล่างมีการระบายลมที่เร็วกว่า ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Lift Force ทำให้ที่ยกเครื่องบนน้ำหนักหลายตันให้ลอยบนฟ้า คราวนี้เราจะมากลับหัวให้ด้านนูนอยู่ข้างล่าง แทนที่มันจะยก กลับกลายเป็น แรงกด แทนนั่นเองครับ
เอาล่ะครับ นี่ก็เป็นเพียงความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่จะให้เพื่อนเข้าใจหลักการทำงานของ Downforce มากยิ่งขึ้น ครั้งหน้าอย่าลืมมาติดตาม เกร็ดความรู้ของรถยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับรถซิ่ง ที่ทางทีมงานจะนำมาให้เพื่อนได้ชมกันแน่นอนครับ