กลับมาพบกับมุมสาระดีๆ จากทีมงาน BoxzaRacing กันอีกแล้วนะครับ สำหรับวันนี้ ทางทีมงานจะมาเพื่อน ๆมารู้จักกับการเสริม Specer รองล้อ กันครับ ซึ่งมีเพื่อนๆ ถามเข้ามาเยอะมากๆ ว่ามัน คือ อะไร ใส่แล้วดีไหม ควรใส่ยังไงดี วันนี้ผมจะพยายามรวบรวมข้อมมูลเพื่อให้เพื่อนๆ ที่เป็นสาวกสายย่อ ชอบทำให้รถเตี้ยๆ ตีโป่งกว้างๆ และต้องการล้อออฟเซตลึกๆ แต่บางครั้งล้อลึกๆ นั้น หายากเหลือเกิน และราคาของมันก็สูงจนสู้ไม่ไหวอีกด้วย ทำให้ตัวเลือกการเสริม Spacer กลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่เพื่อนๆ หลายคน เลือกที่จะทำให้ช่วงล่างดูเต็ม มีฟิตเม้นท์ที่ลงตัวมากขึ้นนั่นเองครับ
นอกจากคำถามที่ผมกล่าวไปข้างต้น ก็มักจะมีอีกคำถามที่พบบ่อยมากๆ ว่า Spacer กับ Adapter ควรใช้แบบไหน ก่อนอื่น...ต้องอธิบายก่อนว่า Adpater มันก็เป็นชนิดหนึ่งของ Spacer เช่นกัน เราจะมาพูดถึงมันอีกครั้ง ในช่วงท้ายๆ นะครับ อย่างที่บอกไปว่าสาระสำคัญของ Spacer ก็เพื่อเพิ่มระยะของฐานล้อด้านข้าง และแน่นนอนครับ ช่วงล่างของรถที่ถูกออกแบบมาให้รองรับกับระยะล้อตามที่โรงงานกำหนด การที่ไปเพื่มเติมแต่ง ก็อาจจะมีผลอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งหากให้แนะนำขนาดของ Spacer ที่เหมาะสมนั้น ก็ควรจะอยู่ไม่เกิน 5-8 มิลลิเมตร ซึ่งหากเกินกว่านั้น ข้อเสียที่จะผุดขึ้นมา อันแรกเลยก็คือ ประสิทธิภาพในการรองรับแรงสั่นสะเทือนอาจทำได้ไม่ดีเหมือนสแตนดาร์ด และหากเสริมที่ขนาดที่มาก 20 มิลลิเมตร อันนี้ปัญหาเรื่องการ ประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนังจะเปลี่ยนไป ทำให้ช่วงล่างโดยเฉพาะดุมล้อต้องรับภาระมากขึ้น และปัญหาต่อมาคือ ความยาวของน็อตล้อที่เหลือเกียวน้อยเกินไป ทำให้ขันน็อคได้น้อยกว่าเดิม ซึ่งอาจเกิดผลเสียใหญ่หลวงตามมาภายหลัง แต่ด้วยข้อเสียที่กล่าวไป ทำให้เพื่อนๆ ต้องกลับมาหาจุดประสงค์ของเพื่อนๆ ก่อนว่า “ต้องการความยาวขาดไหน” แล้วจัดการเลือก Spacer ที่เหมาะสม ซึ่ง Spacer จะมี 3 แบบหลักๆ ที่ให้เพื่อนได้เลือกใช้ตามความต้องการ
แผ่น Spacer / Spacer Plate
แบบนี้จะมีให้เห็นกันอย่างทั่วไปตามท้องตลาด หรือตามร้านประดับยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตมาจาก Alluminium Alloy ขึ้นรูปเพื่อให้รองรับดุมล้อของรถทุกรุ่น ซึ่งขนาดนั้น จะไล่ขึ้นไปจาก 3 มม. ไปจนถึง 10 มม. การติดตั้งของแผ่น Spacer แบบนี้ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่รองไปดุมล้อก่อนที่จะใส่ล้อเท่านั้นเอง
แผ่น Spacer แบบมีปลอกกันสะเทือน / Spacer Plate with Hub Cone
สเปเซอร์ แบบนี้ จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากขนาดของมันจะไม่ใช้ขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะพบที่ 20 มม. ซึ่งจำเป็นต้องสั่งทำ อย่างที่กล่าวว่าหากเสริมออกมามากกว่า 8 มม. อาจส่งผลกระทบต่อระบบกันสะเทือน ทำให้จำเป็นต้องมี Hub Cone ที่ตรงกลาง เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนนั่นเองครับ
Adapter
มาถึงพระเอกของเรา ที่เพื่อนๆ หลายๆ คน เลือกที่จะใส่เจ้าตัวนี้ เพราะด้วยออพชั่นของมันที่สามารถแปลงรู PCD ได้ด้วย นอกจากนี้มันยังลดข้อเสียของการเสริม Spacer ที่อาจมีปัญหาเรื่องความยาวของน็อตล้อ แต่พอเปลี่ยนมาใช้อแดปเตอร์ ที่ตัวแดปเตอร์จะมีน็อตล้ออีกชุด ทำให้หมดปัญหาในเรื่องของความยาว
ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ที่ทาง BoxzaRacing ภูมิใจเสมอ ซึ่งในครั้งหน้า จะมีเรื่องใดมาให้ความรู้อีกนั้น ต้องรอติดตามชมกันให้ดี