สวัสดีเพื่อนๆชาวรถซิ่ง รถแต่ง รวมทั้งแฟนๆของ Boxzaracing ด้วยครับ เชื่อว่าเพื่อนๆที่ขับบนท้องถนน จะต้องเคยพบกับเจ้า โคมไฟทั้ง 2 แบบนี้อย่างแน่นนอน และเชื่อว่าต้องมีคำถามตามมา "แบบไหนมันดีกว่ากัน Projector หรือ Reflector?" ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่พบได้บ่อยมากๆ ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ ก็ตอบได้ไม่ยากเช่นกัน นั่นคือ Projector นั่นเองครับ ซึ่งเจ้าโคมแบบ Projector นั้นก็เริ่มมีให้เห็นในรถเดิมๆจากโรงงานกันในยุคหลังๆกันบ้างแล้ว งั้นวันนี้เราจะมาให้เหตุผลว่าทำไมเจ้า Projector ถึงได้เข้ามามีบทบาทมากขนาดนี้ครับ
เหตุผลหลักๆที่ Projector ดีกว่าก็คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "การรวมแสง" ของ Projector นั้นที่ทำได้ดีกว่ามากๆ โดยที่โคมแบบ Reflector นั้นจะมีอาการที่เรียกว่า "แสงฟุ้ง" นั่นเอง หากเพื่อนๆนึกไม่ออกลองนึกถึงเวลาขับรถสวนกันบนถนน แล้วรู้สึกว่าแสบตาจากแสงไฟหน้า(ไม่นับว่าเปิดไฟสูงนะครับ) นั่นคืออาการที่เราเรียกกันว่า "แสงฟุ้ง" และจะเลวร้ายมากกว่าเดิมเมื่อมีการใส่หลอดสว่างมากๆเข้าไป เช่น Xenon ทำให้เป็นผลเสียต่อเพื่อนร่วมท่างมากกว่าผลดีครับ เมื่อเทียบกับ Projector แล้ว ตัวโคมและการทำงานของมันจะมีการรวมเเสงได้ดีกว่ามาก ทำให้อาการแสงฟุ้งนั้นไม่เกิดขึ้นเลย เอาล่ะครับเพื่อความกระจ่างเรามาดูหลักการทำงานของทั้ง 2 แบบกันเลย
โคมแบบแสงสะท้อน (Reflector หรือ Multi-Reflector )
การทำงานของโคมแบบนี้นั้นไม่มีอะไรยากเลยครับ เนื่องจากเป็นการออกแบบอย่างง่ายๆ อาศัยหลักการหักเหและการสะท้อนของแสงเข้ามาเป็นหัวใจหลัก โดยที่การผลิตนั้นจะสร้างโดมรูปครึ่งวงกลม(หรือทรงอื่นๆ) ด้านในจะนำ กระจกหรือ วัสดุสะท้อนแสงติดตั้งเอาไว้ และติดตั้งสิ่งให้แสงสว่าง หรือ หลอดไฟไว้ตรงกลาง เมื่อมีการเปิดไฟ แสงจะสะท้อนเข้าหากันและจะพุ่งออกไปที่พื้นถนน โดยไม่มีการรวมแสงแต่อย่างใด ทำให้แสงที่ออกไปบนพื้นถนนนั้นไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีจุดมืด(DarkSport) หรือจุดที่ไฟเข้มเกินไป (HotSport)
โคมแบบ Reflector ที่ยังมีให้เห็นได้ทั่วไป
ข้อดี
ข้อเสีย
อาการแสงฟุ้งที่ส่งผลเสียมากกว่าผลดี
โคมแบบเลนส์รวมแสง ( Projector )
หลักการทำงานของโคมแบบนี้จะอาศัยหลักการทำงานของเลนส์รวมแสง คล้ายๆกับการทำงานของไฟฉายนั่นเองครับ ซึ่งตัวเลนส์นั้นจะมีความสำคัญในส่วนของการรวมแสงและลดการฟุ้งของแสงเพื่อให้แสงส่องไปยังพื้นถนนได้อย่างแม่นยำ ยกตัวอย่างง่ายๆครับ เพื่อนๆคงเคยเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สมัยมัทยมที่ให้นำเอาแว่นขยาย ไปส่องกับดวงอาทิตย์ เพื่อรวมแสงให้เกิดความร้อน ที่จุดๆหนึ่งนั่นเองครับ ซึ่งหัวใจหลักของโคมแบบนี้ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า คัทออฟชีล (Cutoff Shield) ที่จะทำหน้าที่สร้างม่าน เพื่อกั้นแสงส่วนเกิน และทำหน้าที่รวมแสงก่อนที่จะออกไปถึงตัวเลนส์ขยาย เจ้าตัวนี้จะทำงานร่วมกับ โซลินอย (Solenoid) มีลักษณะครึ่งวงกลมติดตตั้งอยู่ที่ฐานล่างของโคม เชื่อมต่อกับตัว Cutoff มีหน้าที่ที่จะควมคุมความสูงต่ำของตัว Cutoff ให้ทำหน้าที่รวมแสงระดับไหนนั่นเองครับ
ความคุมการรวมแสงได้ 100%
ข้อดี
ข้อเสีย
Mustang ที่อัพเกรดจากโคม Reflector
นี่ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยที่เรานำมาฝากเพื่อนๆกันนะครับ หวังว่าเพื่อนๆคงได้รับประโยชน์ไม่มากก้น้อยนะครับ และครั้งหน้าจะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับ เรื่องอะไรนั้นอย่าลืมติดตตามกันนะครับ...