เขียนโดย: RaiToZ Boxza

เมื่อ: 3 เมษายน 2560 - 13:36

คลัตช์เปียก Vs คลัตช์แห้ง คืออะไร? ต่างกันอย่างไร ควรใช้แบบไหนดี สายซิ่งต้องรู้

          สวัสดีเพื่อนๆชาวรถแต่ง รถซิ่ง กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับกับมุมสาระดีๆจากทางทีมงาน BoxzaRacing ที่นำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งวันนี้จะเป็นเรื่องราวที่เพื่อนๆอาจมองข้ามกันไปกับมุมเล็กๆระหว่างเครื่องยนต์กับชุดเกียร์ นั่นก็คือชุดคลัตช์นั่นเองครับ เพื่อนๆคงรู้กันอยู่แล้ว่าเจ้าหน้าที่ของคลัตช์คือการ ส่งกำลังจากเครื่องยนต์มาที่ชุดเกียร์นั่นเองครับ

 

แผ่นคลัตช์ที่ใช้งานอยู่ในบัจจุบัน

 

          แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงอะไรที่มันแตกต่างออกไป ซึ่งเพื่อนๆหลายคนคงเคยที่ว่าแต่งเครื่องยนต์เต็มที่ทั้งลูกสูบ ทั้งหัวฉีด  แต่รถยังไม่วิ่ง เหตุผลส่วนหนึ่งก็มาจากคลัตช์อีกด้วยครับ เอาละครับวันนี้เราจะพาเพื่อนๆมารู้จักกับ การทำงานคลัตช์อีก 2 ประเภท นั่นคือ แบบ แห้ง(Dry) กับแบบเปียก(Wet) นั่นเองครับ เชื่อว่าเพื่อนๆลายคนคงคุ้นเคยกับคลัตช์แบบเปียก กันอยู่แล้วเพราะว่า ในรถรุ่นใหม่ๆที่ออกมาไม่ว่าจะ Bigbike หรือ รถเก๋ง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นคลัตช์เปียกแล้วทั้งสิ้น เรามาดูความแตกต่างกันดีกว่าครับว่าทำไมจึงต้องคลัตช์เปียกแล้วมันดีกว่ายังไง

 

คลัตช์แห้ง (Dry Clutch)

 

คลัตช์แบบแห้ง ที่ใช้งานในห้องเครื่องแบบเปิด

 

          คือการทำงานที่แผ่นคลัตช์นั้นจับกันอย่างเพียวๆ ไม่มีน้ำมันหล่อลื่น ทำให้มีเสียงดัง(มาก) ความร้อนที่ค่อนข้างสูงเพราะว่าไม่มีการหล่อเย็นเกิดขึ้นเลย ตัวแผ่นคลัตช์จะมีความสกปรกค่อนข้างสูง เนื่องจากไม่มีน้ำมันเครื่องเข้ามาชะล้างให้เวลาใช้งาน นอกจากนี้คลัตช์แห้งส่วนใหญ่ จะถูกใช้งานบนระบบที่เปิด ไม่ได้ถูกปิดมิดชิดเหมือนคลัตช์เปียก ทำให้มีคราบฝุ่นหรือเศษผงเข้าไปภายในได้อีกเช่นกัน เพื่อนคงคิดว่ามันแย่ขนาดนี้ก็ดีแล้วที่ไม่ใส่มาให้ หารู้ไม่ครับ...เพราะการทำงานแบบดิบๆเนี่ยแหละ ทำให้คลัตช์แห้ง ส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ชุดเกียร์ได้แบบเต็มๆ ดุดัน และโคตรดิบ เลยครับ ตัวอย่างเช่น สมัย 10 กว่าปีที่แล้ว รถจักรยายนต์ค่ายสีแดง จาก อิตาลี่ก็ให้คลัตช์แห้งมาจากโรงงานทำให้หลายๆคนกล่าวกันว่า รถจักรยานยนต์ค่ายนี้ในยุคนั้น ดิบ และ ดุ มาก แต่อย่างว่าครับ ข้อดีของมันมีเพียงนิดเพราะ เนื่องจากไม่มีการหล่อลื่นทำให้ผ้าคลัตช์หมดเร็วมากๆ ประกอบกับการขับที่ยากด้วยทำให้ คลัตช์แห้งค่อยถูก ลืมเลื่อนไป

 

คลัตช์เปียก (Wet Clutch)

 

 

          เชื่อว่าหลายๆคนที่มีโบรชัวร์ ของรถยนต์สมัยใหม่อยู่ในมือ ในส่วนของ Spectification นั้น ต้องมีเขียนคำว่า “คลัตช์แบบเปียกหลายแผ่นซ้อนกัน” ไอ้เจ้าระบบนี้ก็คือคลัตช์แบบเปียกนั่นแหละครับ ซึ่งการทำงานนั้น ให้นึกถึงคลัตช์แห้งที่ผมกล่าวถึงข้างต้นไปก่อน แล้วให้กลับกันทุกอย่าง เพราะว่า เจ้าคลัตช์เปียกเนี่ยจะทำงานอยู่ใน น้ำมันเครื่อง ทำให้ตัวของมันเปียกตลอดเวลา ทำให้ข้อเสียทั้งหลายแหล่ ของคลัตช์แห้ง ถูกลบออกไป แต่มันก็ไม่ได้ลบไปเฉพาะข้อเสียน่ะสิครับ ในด้านของสมรรถนะ ก็ถูกบั่นทอน ลงไปค่อนข้างเยอะ แต่แลกมาด้วย อายุการใช้งานที่ยาวขึ้น เรียกได้ว่าใช้ลืมเลยก็มี เสียงที่เงียบลง(มาก) ความร้อนที่ลดลงไปทำให้คลัตช์เปียกมีบาบาท ถูกนำเข้ามาแทนคลัตช์แห้งในที่สุดนั่นเองครับ

 

ชุดอัพเกรดคลัตช์แห้ง

 

          แต่ในปัจจุบันการอัพเกรตจากแบบเปียกไปเป็นแบบแห้งก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ครับ ตามสนามแข่งหรือแม้แต่บนท้องถนน หากได้ยินเสียง กรุ้งกริ๊งๆๆ แล้วล่ะก็ให้ฟันธงได้เลยว่ารถคันนี้ใช้งานคลัตช์แห้งอย่างแน่นนอนครับ ซึ่งชุดอัพเกรตคลัตช์แห้งนั้นก็ไม่ได้แพงมากครับสำหรับยุคนี้ มีตั้งแต่ราคา หลักหมื่น ไปจนเกือบๆเเสนก็มีครับ..เป็นอย่างไรบ้างกับเกร็ดเล็ๆน้อยๆของคลัตช์ที่เรานำมาฝากกันหวังว่าเพื่อๆคงได้รู้จักกันมากขึ้น โดยเฉพาะนักซิ่งหน้าใหม่ที่ คลัตช์แห้งแทบจะไม่รู้จักกันแล้ว..

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook