หลังจากที่ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางสายบางปะอิน-โคราช ความคืบหน้านั้นเกือบเสร็จสมบูรณ์ 100 % แล้ว ล่าสุดมีสัญญาณส่อเค้าวุ่นวายออกมา เมื่อเส้นทางดังกล่าวบางช่างบางตอนรุกล้ำอยู่ในเขตป่าสงวน เป็นเหตุให้ต้องรื้อปรับแก้ใหม่ ส่งผลให้การเปิดใช้เส้นทาง ต้องล่าช้าออกไปถึงปี 2566 อีกทั้งยังดันงบประมาณพุ่งขึ้นไปถึง 6 พันล้านบาทเลยทีเดียว
ทั้งนี้ คุณอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายดำเนินงานกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร (กม.) ขณะนี้พบว่า บางช่วงต้องปรับแบบใหม่กว่า 10 สัญญา เนื่องจากติดปัญหาแนวเส้นทางผ่านป่าสงวน ในเขตท้องที่จังหวัดนครราชสีมา
หลังผู้รับเหมาเข้าพื้นที่สำรวจ เช่น สัญญาที่ 11 อยู่ในบริเวณป่าเขา ต้องเปลี่ยนรูปแบบจากถนนบนพื้นราบ ปรับเปลี่ยนเป็นสะพานยกระดับแทน ขณะเดียวกันที่ผ่านมาสภาพพื้นที่บางเส้นทางบริเวณทางเท้าได้มีการวางแผนแล้ว แต่กลับพบว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นหินทั้งหมด จำเป็นต้องระเบิดหินแทน ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบ รวมทั้งแนวเส้นทางเวนคืนที่ดิน ที่มีการดำเนินการไว้ช่วง 7-8 ปี ที่ผ่านมา ไม่สามารถเวนคืนได้ หลังจากผู้รับเหมาเข้าพื้นที่พบว่าแนวเส้นทางเวนคืนที่ดินนั้นไม่เหมาะสมในการถมดินเพราะไม่คุ้มค่าทำให้มีการปรับแบบเป็นสะพานยกระดับ
สำหรับมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา แบ่งเป็นวงเงินลงทุน 84,600 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 77,970 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 6,630 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2559-2565 ปัจจุบันสัญญารวมก่อสร้าง จำนวน 40 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 17 สัญญา อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแบบกว่า 10 สัญญา และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ราว 13 สัญญา
แนวเส้นทาง มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา
แนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีระยะทางรวมประมาณ 196 กิโลเมตร โดยออกแบบให้มีการควบคุมการเข้าออกอย่างสมบูรณ์ มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และไปสิ้นสุดที่บริเวณทางเลี่ยงเมืองจังหวัดนครราชสีมาด้านตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ตลอดแนวเส้นทางจะมีทางแยกต่างระดับ (Interchange) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการกับทางหลวงสายสําคัญๆ มีทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่
ส่วนรูปแบบการก่อสร้าง เป็นการก่อสร้างทางแนวใหม่ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ ขนาด 4-6 ช่องจราจร ออกแบบให้ใช้ผิวทางคอนกรีตที่มีความคงทนและมีการซ่อมบำรุงน้อย เขตทางทั่วไปกว้างประมาณ 70 เมตร (บริเวณที่มีการออกแบบทางบริการจะเพิ่มความกว้างเขตทางออกไปด้านละ 20 เมตร) มีความกว้างช่องจราจร 3.60 เมตร ความกว้างของไหล่ทางด้านใน 1.50 เมตร และความกว้างของไหล่ทางด้านนอก 3.00 เมตร ตามรายละเอียดดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก thansettakij.com และ doh-motorway.com