สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สืบเนื่องจากสถานการณ์การใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามีการ เปลี่ยนเเปลงอย่างเห็นได้ชัด จากข้อมูลของกรมขนส่งทางบก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ผ่านมา
โดยสถิติการจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เเละไฮบริด (HEV) ในครึ่งปีเเรก (2562) มีจำนวนมากถึง 15,366 คัน ซึ่งคิดเป็นกว่า 75 เปอร์เซนต์ ของยอดจดทะเบียนปี 2561 ทั้งปีที่มีจำนวนทั้งสิ้น 20,344 คัน ในส่วนของการจดทะเบียนใหม่ ประเภทยานยนต์เเบบเเบตเตอรี่ (BEV) ในครึ่งปีเเรก (2562) มีจำนวน 420 คัน ซึ่งสูงกว่ายอดจดทะเบียนใหม่ของปี 2561 ทั้งปี ที่มีอยู่ราว ๆ 325 คัน เเละมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะประมาณ 340 เเห่งทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่าตัวเลขการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในครึ่งปีเเรก (2562) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเเละมีเเนวโน้มที่การจดทะเบียนจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เล็งเห็นถึงสถานการณ์การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันเเละอนาคต จึงได้มีการร่างข้อเสนอเเนวทางการส่งเสริม ยานยนต์ไฟฟ้าประกอบไปด้วย 8 ข้อหลักที่มุ่งหวังให้ภาครัฐนำข้อเสนอเหล่านี้มาปรับใช้ในการดำเนินนโยบายบริหารประเทศ โดยข้อเสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งหมด 8 ข้อหลัก ได้เเก่
1.การจัดทำเเผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเเบบบูรณาการ (EV Roadmap) อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทางสมาคมเน้นว่าต้องมีการกำหนดเป้าหมายของจำนวนยานยนต์ไฟฟ้า เเละสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเหมาะสม พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ทางสมาคมยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการนโยบายโดยมี นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อการบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.ทางสมาคมเเนะให้รัฐพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อไฟฟ้าเเละรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี รวมไปถึงการส่งเสริมการใช้รถสามล้อไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งทางสมาคมยังเสนอให้มีการเเยกการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างประเภทปลั๊กอิน ไฮบริด (PHEV) เเละไฮบริด (HEV)
3.การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งภาครัฐควรออกมาตรการดังต่อไปนี้
4.ควรมีการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปเเบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเเละรถสามล้อไฟฟ้า
5.ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเเละการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรจัดให้มีการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยเเละพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ เเละการพัฒนาเเพลตฟอร์มเเบบเปิดสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Open Platform) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำเเพลตฟอร์มมาต่อยอดได้
6.การจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรมีการออกมาตรฐานยานยนต์ที่ครอบคลุม รวมไปถึงการจัดให้มีหน่วยงานทดสอบเเละรับรองมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้าเเละเเบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพเเล้ว โดยใช้เเนวทางตามมาตรฐานสากล
7.ควรมีการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าเเบบ Quick Charge ตามสถานที่ต่างๆ
8.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ให้มีการอบรมเเละการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา
ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวถึงข้อเสนอดังกล่าวว่า “ทางสมาคมช่วยกันระดมความคิดในการจัดทำข้อเสนอทั้งหมดจากทั้งภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้อง ในส่วนต่อไปผมคิดว่าทางภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะสนับสนุนให้ข้อเสนอดังกล่าวสามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติเเละเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทางสมาคมยินดีให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในทุกๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้เเละพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเเพร่หลายเเละการใช้พลังงานไฟฟ้าก็ยังสามารถช่วยลดมลพิษ ปัญหาสิ่งเเวดล้อม เเละปัญหาโลกร้อนที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย