เขียนโดย: Pajingo

เมื่อ: 8 กันยายน 2560 - 14:01

Formula Student Japan 2017 ม.เกษตรศาสตร์ ส่งตัวแทนประเทศไทยร่วมสู้ศึกระดับโลก

 

           Formula Student Japan 2017 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ มีอีกหนึ่งทีมตัวแทนประเทศไทย และตัวแทนสมาคมวิศวกรรมยานยนตร์แห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมลงทำการแข่งขัน นั่นก็คือ ทีม Dongtaan Racing จากภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยแข่งขันระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน 2560 ณ สนาม Ogasayama Sports Park Shizuoka-ken เมืองชิสุโอกะ

 

 

           Formula Student เป็นการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบ ที่ออกแบบและสร้างรถที่ใช้แข่งโดย นักศึกษาภายใต้กฎ FSAE Rules สำหรับรถ Formula Student เป็นรถล้อเปิด (Open wheel) 1 ที่นั่ง ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาดไม่เกิน 710 cc. ซึ่งรถจากทีม Dongtaan Racing ใช้ขุมพลัง 4 สูบ ที่ยกมาจาก Kawasaki ZX-6R พร้อมปรับแต่งให้เร้าใจขึ้นอีกระดับด้วยกล่อง ECU จาก MoTeC รุ่น M150 จูนโดยสมาชิกภายในทีมเอง เช่นเดียวกับในส่วนของโครงสร้างและชุดแอโร่พาร์ทรอบคันที่สร้างขึ้นจากคาร์บอนไฟเบอร์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมอุปกรณ์อื่นๆ ที่ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก FIA

 

 

           สำหรับเทคโนโลยีที่ทีม Dongtaan Racing ใช้ในการแข่งขัน เช่น การใช้เทคโนโลยี Ignition cut เพื่อเปลี่ยนเกียร์โดย Paddle shift แทนการเหยียบคลัชท์, การทำระบบ Launch Control เพื่อรอบที่ดีที่สุดในการออกตัว, การใช้ Body Parts ทั้งหมด เป็น Carbon fiber ที่ออกแบบ และผลิตโดยนิสิตเอง, การใช้ Telemetry ที่สามารถควบคุมการจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์ และดูสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์จากระยะไกลระหว่างแข่งขัน, การใช้ GPS บนรถวาดแผนที่ของสนาม เพื่อให้นักขับลำดับที่ 2 ของทีม เรียนรู้วิธีขับในสนามก่อนลงไปขับ, การออกแบบ Body Parts ตามหลัก Aero Dynamic เพื่อสร้าง Downforce และ Traction ที่เหมาะสมที่สุดในการแข่งขัน

 

 

           ในการแข่งขัน Formula Student Japan 2017 จะมีเกณฑ์การให้คะแนนที่พิจารณาจาก 8 หัวข้อ คือ 

1.Acceleration เป็นการแข่งขัน อัตราเร่งของรถ โดยการวิ่งทางตรงระยะ 75 เมตร

2.Skid-Pad เป็นการแข่งขันความสามารถในการเข้าโค้งของรถ โดยลักษณะสนามจะเป็นเลข 8 รถแข่งจะวิ่งวนฝั่งละ 2 รอบ

3.Auto-Cross เป็นการแข่งขันแบบ 1 รอบสนาม โดยจะมีทั้งทางตรง ทางโค้ง รวมถึง Slalom

4.Endurance เป็นการแข่งขันที่คล้าย กับ Auto-Cross แต่วิ่งติดต่อกันทั้งหมด 22 รอบ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความทนทานของรถ

5.Fuel efficiency เป็นการแข่งขันประหยัดเชื้อเพลิง เทียบกับระยะทางที่วิ่งของรถในการแข่งขัน Endurance

6.Engineering Design เป็นการแข่งขันออกแบบรถ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของแอโร่ไดนามิคส์, ระบบส่งกำลัง, ช่วงล่าง และการนำมนวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในรถแข่ง

7.Engineering Cost เป็นการแข่งขันการจัดการงบประมาณ และการใช้งบอย่างคุ้มค่า

8.Bussiness Presentation เป็นการแข่งขันประยุกต์เทคโนโลยี และการออกแบบ การผลิตรถ เพื่อนำไปใช้สำหรับการทำธุรกิจ

 

 

           เครื่องการันตีถึงฝีมือและผลงานที่สุดยอดของทีม Dongtaan Racing คงหนีไม่พ้น การได้รับรางวัลจากการแข่งขันในรายการ Formula Student TSAE Auto Challenge 2017 ซึ่งจัดโดยสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทคะแนนรวม ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, ชนะเลิศ ประเภทคะแนนรวม Static, ชนะเลิศ ประเภท Acceleration, ชนะเลิศ ประเภท Skid-Pad, ชนะเลิศ ประเภท Endurance, ชนะเลิศ ประเภท Business Presentation, รองชนะเลิศ ลำดับที่ 1 ประเภท Auto-Cross, รองชนะเลิศ ลำดับที่ 1 Engineering Design, รองชนะเลิศ ลำดับที่ 2 Engineering Cost ซึ่งนอกเหนือจากรางวัลที่ได้รับแล้ว นิสิตของทีม Dongtaan Racing ที่เช้าร่วมการแข่งขัน จะได้ความสามารถในการออกแบบ โดยใช้โปรแกรมออกแบบ 3 มิติ, การ Simulation Aero Part, การ Simlation การรับแรงของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น, ทักษะการใช้อุปกรณ์ช่าง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อม การเจีย การตัด ดัด พับ เหล็ก, ทักษะการขึ้นรูป Mould และการขึ้นรูป Carbon Fiber, ทักษะการปรับแต่งอัตราการฉีดน้ำมันที่เหมาะสมโดยใช้กล่อง ECU และทักษะในการขับขี่รถแข่ง

 

 

           ทุกท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารของทีม Dongtaan Racing อย่างใกล้ชิดได้ทาง Kasetsart Formula Student หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน BoxzaRacing.com ซึ่งเราจะเกาะติดการแข่งขันในครั้งนี้กันอย่างต่อเนื่อง

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook