ถ้าจะเอ่ยถึงรถที่เป็นเครื่องยนต์ตระกูลโรตารี่ในยุคนี้พ.ศ.นี้ ที่นำมาตกแต่งเพิ่มความสวยงาม หรือแม้เอามาลงสนามแข่งใครหลายๆ คน ก็จะคิดถึงรถบอดี้ Rx-7 และ Rx-8 เนื่องด้วยรูปทรงและบอดี้ที่สวยงามเหมาะแก่การเอามาแต่งทั้งสวยงามและลงสนามแข่ง แต่รถคันที่เราจะกำลังนำเสนอนี้เป็นรถจากค่าย Mazda รุ่น Rx-3 ที่เคยเฉิดฉายอยู่ในอดีตในยุค 70 ก็ว่าได้ สำหรับรถคันนี้เป็นรถของ “พี่มะ Rotary” เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่คว่ำหวอดอยู่ในวงการเครื่องโรตารี่มายาวนาน คอนเซ็ปของรถคันนี้พี่มะได้บอกกับทางทีมงานว่าอยากจะปลุกรถที่เคยใช้ในสมัยวัยเรียนให้กลับมาอีกครั้ง โดยส่วนตัวของพี่มะเอง ได้ปลุกสร้างรถแข่งมามากมายหลายรุ่นด้วยกันทั้ง FC/FD และ SE ซึ่งรถแต่หละรุ่นที่ได้สร้างขึ้นมาก็ประสบความสำเร็จและสร้างชื่อทั้งรถที่ใช้ในสนามแข่งหรือจะเป็นรถบ้านที่ใช้งานได้จริง พอสร้างรถออกมามากๆ ก็เดินมาถึงจุดที่ว่าอยากลองสร้างอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง ประจวบกับที่บ้านมีรถ Mazda Rx-3 จอดอยู่ซึ่งรถคันนี้เคยเป็นรถที่ใช้ไปขับไปเรียนตอนสมัยวัยรุ่น และเคยนำไปวิ่งแดร็กสมัยที่ MMC จึงอยากจะปั่นรถคันนี้ให้ลงวิ่งในสนามเซอร์กิตบ้าง แต่ใส่เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปเพื่อที่จะให้รถคันนี้ออกมาวิ่งในสนามเซอร์กิตได้
พาร์ท Custom ขึ้นมาใหม่ทุกชิ้น แต่ยังคงเส้นสายเอาไว้
เริ่มจากลุคภายนอกของ RX-3 คันนี้ก่อนถ้าเพื่อนๆ จำกันได้รถ Rx-3 จะมีฐานล้อที่แคบ ดังนั้นจึงต้องทำให้ฐานล้อคันนี้กว้างที่สุดเท่าที่จะสามารถขับได้ในสนามซึ่งถ้าฐานล้อกว้างออกมาแล้วไม่มีโป่งมาคุมก็จะไม่สามารถข่งในสนามได้ จึงได้ออกแบบชุดโป่งใหม่ทั้งหมด การออกแบบในครั้งนี้คงคอนเซ็ปเดิมของรถในยุค 70 เอาไว้คือลวดลายเส้นสายข้างรถเริ่มกันตั้งแต่ชุดโป่งซ้ายและขวายังคงเส้นสายที่โป่งอย่างชัดเจน ส่วนลิ้นหน้าที่ออกแบบมาใหม่โดยยึดต้นแบบเดิมเป็นหลักจะมีเส้นสัน 3 เส้นออกมาตัวรถ ส่วนฝากระโปรงหน้าขึ้นใหม่จากวัสดุคาร์บอนเคฟล่าร์ที่ยังคงเส้นนูนตรงกลางฝากระโปรงเอาไว้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของรถคันนี้ ส่วนชุดไฟหน้าที่เป็นไฟข้างละ 2 ดวง ดวงในถูกเจาะเป็นช่องเพื่อดักลมเข้าส่วนโคมไฟหน้าเปลี่ยนใหม่เป็น Led เพิ่มความทันสมัยเข้าไป ส่วนเกิร์ตข้างรถซ้ายและขวาออกแบบใหม่ให้มีลักษณะเหมือนกล่องยาวๆ จริงๆ มีเหตุผลคือเนื่องด้วยรถคันนี้ถูกทำให้เตี้ยที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งพอรถเตี้ยลงมาแล้วพื้นที่ใต้ท้องรถจึงไม่มี ดังนั้นจึงเดินท่อไอเสียใหม่ให้มาออกข้างรถแทน พอมาออกข้างรถจึงได้สร้างสเกิร์ตขึ้นมาให้เป็นรูปกล่องเพื่อเก็บท่อไอเสียให้มิดชิด โดยที่สเกิร์ตนี้ได้ใส่ครีบดักลมเพิ่มเข้าไปเพื่อเอาไประบายความร้อนของท่อไอเสียอีกด้วย ส่วนโป่งหลังออกแบบให้รับกับชุดโป่งหน้าโดยเน้นที่เส้นด้านหลังของรถที่เริ่มมาจากโป่งหน้าสเกิร์ตข้างจนมาถึงโป่งหลัง ส่วนกันชนท้ายได้เพิ่มครีบ Diffuser เข้าไปเพื่อจัดระเบียบลมที่ออกจากใต้ท้องรถให้ออกด้านท้ายรถให้เป็นระเบียบมากขึ้น โดยใต้ท้องรถปิดเรียบเพื่อไม่ให้ลมวนใต้ท้องรถ โดยชุดพาร์ทรถคันนี้ออกแบบเองและทำเองอีกด้วยจึงได้พาร์ทที่สวยและตรงใจตัวเอง หลังจากที่ใส่ชุดพาร์ทเสร็จแล้วก็จับรถคันนี้ไปทำสีเป็นสีเทา Raptor ส่วนฝากระโปรงหน้าที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์จัดการพ่นสีเช่นกันแต่เว้นที่ช่องกลางเอาไว้เพื่อให้เห็นผ้าเคฟล่าร์เพิ่มลูกเล่นเข้าไปให้ดูสะดุดตา หลังจากที่ทำสีเสร็จก็ออกแบบสติ๊กเกอร์เป็นรูปเครื่อง Rotary ติดเอาไว้ที่ฝากระโปรงหน้าและติดเส้นสีเหลืองและฟ้าจากแก้มหน้าไปถึงแก้มหลัง ส่วนวิงค์หลังออกแบบใหม่ให้ดูใหญ่ขึ้นและใช้งานได้จริงพร้อมทำสีฟ้า ที่เลือกใช้เฉดสีเดียวกับ Nissan March ที่เป็นสีฟ้า คาปรี บลู ซึ่งเป็นสีของน้ำทะเลเกาะคาปรี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิตาลี นี่แค่รายละของภายนอกเท่านั้น แต่ละจุดที่สร้างขึ้นมามี Story ของตัวเองทั้งหมด
เครื่อง 13B PP Port ที่คงความเป็น N/A
สำหรับรถ Mazda Rx-3 เป็นรถเครื่อง Rotary ซึ่งในยุคที่รถคันนี้ออกมาสู่ท้องตลาดเครื่องยนต์เป็นเครื่อง Rotary N/A ไม่มีระบบอัดอากาศหรือเทอร์โบนั่นเอง ซึ่งพี่มะ ก็อยากจะคงคอนเซ็ปนี้เอาไว้ โดยในความคิดของเขาเครื่องที่อยู่ในรถ Rx-3 คันนี้ต้องเป็นเครื่อง N/A เท่านั้น จึงจับเครื่อง 13B PP Port มาใส่เข้าไป ซึ่งจะทำให้ลมเข้าเยอะและเข้าเร็วที่สุดทำให้ Power Band จะกว้างกว่าเดิม โดยเครื่องตัวนี้เป็นเครื่องของ Rx-8 ที่มีกำลังอัดสูงถึง 11:1 เนื่องจากเป็นเครื่อง N/A ดังนั้นกำลังอัดจึงเยอะกว่าเครื่องที่ใส่ Rx-7 ที่เป็นเครื่องเทอร์โบ พร้อมเปลี่ยน Apex ใหม่เป็น Apex ซิ่งจาก Top Fuel Racing ซึ่ง Apex ตัวนี้เลือกใช้ของเครื่อง N/A ที่แข็งแรงและทนรอบสูงๆ ได้ จากนั้นออกแบบระบบดักอากาศหรือ Air Duct เอาไว้หลังช่องกระจังหน้าให้มีช่องเก็บลมที่ใหญ่กว่าเดิมเพื่อให้ลมมารอเพื่อจะว่าพอเหยียบคันเร่งปุ๊ปลมจะเข้าสู่ระบบเผาไหม้ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอ ส่วนหม้อน้ำเดินใหม่เป็นมิเนียมวางไว้หลังกันชนเช่นกัน ส่วนรถบบน้ำมันใช้ปั้มติก 225 x 2 เป็นตัวดูดน้ำมันผ่านเรคูเรเตอร์ของ Turbo Smart เป็นตัวปรับแรงดันน้ำมันให้คงที่ก่อนจะผ่านเข้าสู่หัวฉีดขนาด 850 cc. จำนนวน 4 หัว ส่วนระบบไฟใช้หัวเทียนของ NGK สายหัวเทียน คอยล์จุดระเบิด ของ MSD ส่วนคอยล์แยกของ MSD CDI ส่วนกล่อง ECU ของรถคันนี้ใช้กล่อง Link Fuly ที่ปรับจูนโดย Toru Kumaki จูนเนอร์ชาวญี่ปุ่นซึ่งรถคันนี้มีแรงม้าให้ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 250 ตัว ส่วนคลัทช์ของรถคันนี้เลือกใช้คลัทช์ของ OS ทำงานคู่กับเกียร์ของ RX-8 6 Speed ที่เลือกใช้เกียร์ตัวนี้ เนื่องจากเครื่อง N/A เป็นเครื่องที่ต้องใช้รอบสูงอย่างรถคันนี้ใช้รอบสูงถึง 10,000 รอบ/นาทีเลย ดังนั้นต้องหาเกียร์ที่ทนต่อรอบสูงๆ ซึ่งเกียร์ RX-8 ตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้อย่างลงตัว อีกอย่างในเกียร์ 1 จะสั้นแต่รอบมาไว เพลากลางหยิบเอาของ RX-7 มาใส่เข้าไปได้อย่างลงตัวโดยที่ไม่ต้องตัดต่ออะไรเลย ส่วนเฟืองท้ายหยิบเอาของ RX-8 N/A มาใส่เข้าไปเช่นกัน อู่ที่วางเครื่องรถคันนี้จะเป็นอู่ไหนไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ “Rotary Revolution” อ่อนนุช13
โทนสีฟ้า คาปรี บลู ถักโรลบาร์ เสริมความแข็งแรง
ในส่วนของห้องโดยสารทางพี่มะ บอกเอาไว้ว่าต้องใส่นวัตกรรมของรถยุคใหม่เข้าไปให้ลงตัวและสวยงาม โดยแผงคอนโซลหน้ารวมไปถึงคอนโซนเกียร์ทำสีใหม่เป็นสีฟ้า “คาปรี บลู” ซึ่งเป็นสีของ Nissan March ส่วนแผงประตูทำสีใหม่เป็นสีฝาสลับกับแผ่นกลางที่เป็นเคฟล่าร์ดำตามสไตล์รถรุ่นใหม่ จากนั้นส่งไปให้ JIIT Auto Frame จัดการถักโรลบาร์ให้ใหม่ทั้งลำ พร้อมพ่นสีภายในให้เป็นสีเทาอ่อน หาเบาะ Ramco ทรงหูกวางมาใส่เข้าไปโดยใช้เบลส์ 6 จุดของ HPI จากนั้นต่อคอพวงมาลัยออกมาแล้วหยิบเอาพวงมาลัยของ Personal มาใส่เข้าไป เพิ่มเทคโนโลยีเข้าไปด้วยการติดจอบอกค่าของเครื่องยนต์ของ Link เข้าไปตัวเดียวจบ
ขยายฐานล้อเป็น 1.80 m. โช้ค Ohlins เบรก Brembo
อย่างที่บอกไว้ว่ารถ Rx-3 คันนี้ต้องกว้างสุดและเตี้ยที่สุดเท่าที่จะใช้ในสนามแข่งได้ ดังนั้นจึงต้องขยายความกว้างของฐานล้อหน้าและหลังออกมาโดยรถคันนี้ขยายฐานล้อออกมาจนถึง 1.80 เมตร ซึ่งของเก่าอยู่ที่ประมาณ 1.54 เมตร หรือขยายออกมาเกือบๆ 30 เซ็นติเมตรเลยทีเดียวจากนั้นหยิบโช้ค Ohlins พร้อมสปริงมาใส่เข้าไปเพื่อที่จะให้รถคันนี้เตี้ที่สุด โดยชุดปีกนกออกแบบและดัดแปลงใหม่เพื่อให้ลงตัวกับช่วงล่างรถคันนี้ที่สุด ส่วนระบบเบรกหน้าเลือกใช้คาร์ลิบเปอร์เบรกหน้าของ Brembo 4 Pot ใหญ่ ทำงานคู่กับจานเบรกขนาด 355 mm. ส่วนเบรกหลังเลือกใช้คาร์ลิบเปอร์ของ AP 4 Pot เล็ก ทำงานคู่กับจานขนาด 330 mm. ซึ่งช่วงล่างนี้ส่งไปที่ร้าน JIIT Auto Frame จัดการเซ็ทติ้งให้ได้อย่างลงตัว
น่าจะเป็น Mazda Rx-3 คันแรกที่แต่งสไตล์เซอร์กิตเพื่อเอาไว้ใช้วิ่งในสนามเซอร์กิตอย่างเดียว ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับความสวยงามในยุคของรถคันนี้ได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดเป็นรถแข่ง RX-3 ที่เกิดในยุค 70 และโดดเด่นมาจนถึงยุค 2019 นี่ก็ว่าได้ ต้องขอบคุณ "พี่มะ Rotary Revolution" ที่สร้างรถสวยๆ แบบนี้มาให้พวกเราได้ดูกัน
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook