Racing Magazine ในวันนี้ เราขอพาทุกท่านขึ้นทามแมชชีนย้อนกลับไปในยุค 70's กันซักนิดกับเจ้า DATSAN KB110 รถยนต์ที่กำเนิดในยุคสมัยนั้น แต่ก็ยังมีให้เราได้พบได้เห็นกันบ้างในยุคนี้ น้อยคันที่เราจะได้พบตามท้องถนน แต่ก็ยังเป็นรถเรโทรอีกหนึ่งรุ่นที่ใครหลายคนเก็บสะสมไว้ ซึ่งคันที่เราจะนำมาให้ชมกันในวันนี้เป็นของ เฮียปรีชา Datsun Thailand ซึ่งถูกฟื้นฟูบูรณะมาแบบชุดใหญ่ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปชมกันเลยครับ
DATSUN KB110 ความหวังหมู่บ้าน By Sombat Otop
สำหรับภายนอกก็ตกแต่งในสไตล์ของรถแข่งเซอร์กิต โดยคาดลายรอบตัวรถคล้ายกับรถแข่ง TS Cup ในสมัยนั้น ส่วนชุดแต่งรอบคันต่างๆก็ใช้แรงบันดาลใจจากรถแข่ง TS Cup ทั้งหมด โดยทุกชิ้นที่แต่งเติมเพิ่มเข้าไปเป็นงาน Fiber ปั้นใหม่ โดย T.I. Carbon Fiber กระจกรอบคันถูกเปลี่ยนใหม่เป็นอะคริลิคทั้งหมด เหลือเพียงบานหน้าเท่านั้นที่ยังคงเป็นกระจกเดิมติดรถ ส่วนกระจกมองข้างถูกย้ายตำแหน่งไปไว้บริเวณแก้มหน้าตามสไตล์ของ Retro วัยเก๋า
ภายในตามสไตล์รถแข่ง Circuit
เปิดประตูเข้ามาชมภายในห้องโดยสารก็จะพบกับห้องโดยสารสีส้มแสบตา อุปกรณ์ทุกอย่างถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เบาะตัว โรบาร์ชุด ตามสไตล์ของรถแข่ง เฮียปรีชา เล่าให้เราฟังว่า เขาและเพื่อนๆร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรถคันนี้ ให้เหมือนกับรถแข่ง TS Cup โดยใช้เวลาทั้งหมด 6 เดือน ตั้งแต่ลอกสี ปะผุ เก็บงานต่างๆ และนำออกมาแข่งในสนามจริง
เครื่องยนต์เดิมติดรถแต่ จัดหนัก!!
ในส่วนของเครื่องยนต์ยังคงเป็นเครื่องยนต์เดิม แต่ใช้กล่อง DataTec Standaloe ซึ่งหลายๆคนก็คงมีข้อสงสัยว่าทำได้อย่างไร และทำเพื่ออะไร เครื่องยนต์เก่าๆนำมาใช้กับกล่องในยุคสมัยนี้ได้จริงหรอ คำตอบในเรื่องนี้ เฮียปรีชา บอกกับเราว่า รถคันนี้ใช้แข่งในรายการ Toyo 3k Racing Car Thailand ในรุ่น C37 Retro car Under 1500 ซึ่ง กติกา ให้ใช้เครื่องยนต์ ทีติดรถมา นำมาโมดิฟาย แต่ยังคงไว้ซึ่งระบบการจ่ายน้ำมันที่เป็น "คาร์บูเรเตอร์" โดยจำกัดความจุกระบอกสูบไว้ไม่เกิน 1500 cc ซึ่ง เครื่องยนต์ที่ติดมาก็อายุอานามปาเข้าไป 30-40 ปี แถมด้วยเทคโนโลยีเมื่อเก่าก่อนยังเป็นเครื่องยนต์ แบบ OHV (OverHeadValve) กับวาล์วที่มีให้มาแค่ 8วาล์ว ตอนแรกโปรเจคเรา ทั้ง ปาด,แทง,แยง,คว้าน แบบครบเครื่อง คาร์บูเรเตอร์แบบนอนท่อคู่ดูดข้างถูกจับเข้ามาประจำการ แต่มันยังก็ไม่สุดซะทีเดียว เพราะหัวใจหลักอีกอย่างของการโมดิฟาย นั่นคือ "ระบบจุดระเบิด" ไอครั้นจะคบหากับระบบจุดระเบิดแบบเดิมๆซักเมื่อหลายสิบปีก่อนมันก็คงไปได้ไม่เท่าไหร่ เพราะว่า "จานจ่าย" มันมีข้อจำกัด
ระบบจุดระเบิดแบบ Direct Coil
กล่อง ECU ของคนไทย Datatec Standalone
ข้อจำกัดที่ว่ามันก็คือ จานจ่ายแบบเก่า ในรอบสูงจะ Advance ไฟจุดระเบิดโดยใช้กลไกในจานจ่ายที่เรียกว่า "กาวานา (Gavana) " เพื่อจุดระเบิดให้แรงขึ้นตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แต่มันมีขีดจำกัดที่ว่า มันอยู่ในตัวเรือนจานจ่าย เมื่อ กาวานา กางออกสุดแล้วไฟจุดระเบิดจะคงที่ แต่ เครื่องยนต์ที่โมดิฟาย มันต้องการไฟจุดระเบิดที่แรงมากกว่านั้น ที่นี้ การ ฟิกเจอริ่ง กันระหว่างเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ยุค คุณลุง กับ ระบไฟยุคคุณหลาน จึงเกิดขึ้น เลยได้มีการใช้กล่อง DataTec Standalone มาควบคุมระบบไฟจุดระเบิด ซึ่งทำให้การตอบสนองของเครื่องยนต์เปลี่ยนไป เรียกว่าหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียวละครับ
ตำนานที่ยังมีลมหายใจ DATSUN KB110 By Sombat Otop
สุดท้ายกับระบบช่วงล่างของ DATSUN KB110 คันนี้ เริ่มแรกเขาเปลี่ยนเบ้าโช๊คอัพใหม่จากนั้นเปลี่ยนไปใช้โช๊คอัพจาก Mitsubishi FTO เปลี่ยนคอม้าด้านหน้าไปใช้ของ Silvia S14 เพลาท้ายใช้ของ AE86 พร้อม LSD จาก TRD เฟืองท้ายน่าจะราวๆ 4.5 ส่วนล้อก็ต้องคงให้ลายคลาสสิคนตำนาน Watanabe ที่เขาเรียกกันว่า "ล้อกล้วย" หน้ากว้าง 8 นิ้ว ขอบ 15 รัดด้วยยาง Nitto NT01 ขนาด 205/50 ส่วนคำโช๊คอัพใช้เป็นของ Custom Made จาก Sombet Otop นั่นเอง
TECHSPEC
ภายนอก
ภายใน
เครื่องยนต์
ช่วงล่าง
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook