สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ทางทีมงาน Boxzaracing.com ได้นำรถอีกหนึ่งคันที่หาดูกันได้ยากมาให้ชมกันนะครับ กับรถ Toyota Altezza จากทีม Inner Line ซึ่งรถคันนี้ทางคุณ เดวิช อยู่เป็นสุข หรือที่รู้จักกันในชื่อคุณซิดนีย์ สังกัดทีม Inner Line Project ได้นำมาเป็นรถแข่งในรายการแข่งรถประเภทเซอร์กิต (Circuit) เอาเป็นว่าก่อนอื่นเรามารู้จักกับเจ้า Altezza กันก่อนนะครับ รถรุ่นนี้ได้ผลิตในช่วงปี ค.ส.1998 โดยออกมาขายในประเทศญี่ปุ่น และอเมริกาเหนือเพียงเท่านั้น สำหรับเจ้ารถรุ่นนี้เป็นแบบสปอร์ตซีดาน (Sport Sedan) ที่มาพร้อมความแรงที่มาจากโรงงานอย่าง 3S-GE ที่มีความจุ 2.0 ลิตร และ เครื่องยนต์ 2JZ-GE กับความจุ 3.0 ลิตร แถมรถรุ่นนี้ได้รับรางวัล Car Of The Year ในช่วงปี ค.ศ. 1998-1999 จากประเทศญี่ปุ่น อีกซะด้วย
ภายนอกหล่อสุด กับการตกแต่งสไตล์รถแข่งเซอร์กิต
เริ่มต้นจากภายนอกที่ได้มีการทำสีใหม่ให้ มีสีสันสดใสดูโดดเด่นตามแบบฉบับรถแข่งเซอร์กิต ในส่วนของชุดแต่ง หรือ Body Part นั้นได้ให้เปี๊ยก 3 ช่าเป็นคนดูแล และจัดการ Wide Body ให้อีกด้วย โดยเริ่มจากกันชนหน้าที่หล่อใหม่พร้อมกับ กระจังหน้าใหม่ที่เป็นตระแกรงทำให้อากาศนั้นถ่ายเท่ได้ดี พร้อมกับติดตั้ง คาร์นาท และสร้างลิ้นหน้าขึ้นมาใหม่เพื่อจัดระเบียบลม ส่วนทางด้านหลังนั้นเริ่มจากกันชนที่เสริม Diffuser ขนาดใหญ่เพื่อให้อากาศนั้นไหลผ่านออกใต้ท้องรถได้ดีมายิ่งขึ้น ในส่วนของสปอย์เลอร์นั้นเป็นวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่ช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ส่วนของกระจกมองข้างนั้นเปลี่ยนเป็น Craft Square
ภายในครบครันไปด้วยอุปกรณ์เซฟตี้ตามจุดต่างๆ
ส่วนของภายในนั้นตามสไตล์ของรถแข่งทางเรียบจะมีเฉพาะอุปกรณ์เซฟตี้ และที่จำเป็นไว้ใช้งานได้จริงเท่านั้น อย่าง เบาะ Bucket Seat ที่เลือกใช้ของที่ผ่านมาตรฐาน FIA อย่าง Recaro Hans ที่มีจุดเด่นตรงปีกของเบาะด้านบนนั้นจะยื่นยาวออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะของนักแข่งกระแทกกับประตูนั่นเอง ตามมาด้วย เข็มขัดนิรภัย จาก Schroth ต่อมาเป็นอุปกรณ์เสริมความปลอดภายให้กับห้องโดยสาร นั่นก็คือ โรลบาร์แบบ 6 จุดที่ช่วยไม่ให้ห้องโดยสารยุบตัวในยามเกิดอุบัติเหตุ ถัดมาเป็นพวงมาลัยก้านยกจาก OMP ส่วนแผงประตู หรือแผงคอนโซลกลาง อุโมงค์เกียร์ ได้ทำกระนำออกเพื่อลดน้ำหนักและป้องกันการติดไฟจากอุบัติเหตุ
ขุมพลัง 3S-GE รหัสเดิมจากโรงงานเน้นเหนียวไว้ก่อน
ทางด้านเครื่องยนต์นั้นได้ใช้เครื่องยนต์รหัสเดิมเป็น 3S-GE BEAMS ที่มีความแรงจากโรงงานอยู่แล้วด้วยเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร 4 สูบ 200 แรงม้า ที่ 7,000 รอบต่อนาที ขับเคลื่อนล้อหลัง เท่านี้ยังไม่พอ ได้ทำการโมดิฟายใหม่ทั่งตัวไม่ว่าจะเป็นฝาสูบที่ได้ทำการปาดฝาขัดพอร์ทไอดี-ไอเสีย ปรับแต่งให้รถมีกำลังอัดตามมาตรฐานของกติกา ในส่วนของแคมชาร์ฟ (Camshaft) นั้นเป็นของซิ่งตรงรุ่นจาก TRD ลูกสูบ, ก้านสูบ และอื่นๆ เรียกได้ว่าทำใหม่ทั้งตัว ในส่วนของระบบน้ำมันนั้นทางอู่ BOON RACING PATTAYA เป็นคนจัดการให้ทั้งหมด เพื่อให้เครื่องยนต์นั้นมีความแรง และทนทานเพื่อรองรับในการแข่งในสนามได้เป็นอย่างดี แล้วเสริมด้วยกล่อง ECU Stand Alone MOTEC M800 ทางด้านระบบส่งกำลังนั้นเป็นเกียร์ 6 สปีด ควบคู่กับคลัทช์ OS Giken เพื่อนำแรงม้าจากเครื่องยนต์ให้ลงพื้นได้อย่างพร้อมเพียงมากยิ่งขึ้น พร้อมเฟืองท้าย Limited Slip (L.S.D.) จาก TRD ในส่วนทั้งหมดนี้ดูแลการผลิตโดยอู่ Boon Racing Pattaya อีกเช่นกัน การโมดิฟายเครื่องยนต์สำหรับการแข่งรถทางเรียบแบบนี้นั้นค่อนข้างที่จะเน้นให้เครื่องยนต์มีความทนทานควบคู่ไปกับความแรง เพราะการแข่งขั้นนั้นต้องใช้ความเร็วที่สูง และรอบที่จัด ความทนทานของเครื่องยนต์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความแรง
ปลอดภัยทุกการแข่งขันด้วยชุดเบรคจาก Project MU
ทางด้านช่วงล่างนั้นเลือกใช้เป็นโช๊คอัพตรงรุ่นจาก TRD ที่สามารถปรับเซ็ตรถให้มีการทรงตัวได้ดียิ่งขึ้นในขณะใช้ความเร็วเพื่อลองรับการเข้าโค้งทุกรูปแบบ ทำให้รถไม่เสียอาการนั่นเอง ตามด้วยชุดปรับมุมล้อจาก ORT ทั่งชุดทำให้ล้อนั่นเกาะรับกับหน้าถนนได้เต็มมากยิ่งขึ้น อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญเลยก็คือระบบเบรค ที่เลือกใช้เบรกจาก Project MU ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง สุดท้ายเป็นล้อแม็กซ์ลายยอดนิยมอย่าง TE37 ขนาด 18 นิ้วจาก Rays เท่านี้ก็พร้อมแข่งแล้ว
จบกันไปเป็นที่เรียบร้อยนะครับสำหรับรถแข่งของคุณ เดวิช อยู่เป็นสุข สังกัดทีม Inner Line BRP - TPR PROJECT ที่ได้นำรถ คันเท่มาให้พวกเราชมกันนะครับ สุดท้ายนี้ขอฝากเพื่อนๆร่วมเป็นกำลังใจให้กับทีม Inner Line Project ด้วยนะครับ
Tech Spec.
ภายนอก
ภายใน
เครื่องยนต์
ช่วงล่าง
-------------------------------------------------
พบกับบทสัมภาษณ์คุณเดวิช อยู่เป็นสุข หรือคุณ ซิดนีย์ เจ้าของรถกันบ้างครับ
Boxzaracing : แนะนำตัวให้แฟน Boxzaracing รู้จักสักเล็กน้อยเดวิช อยู่เป็นสุข : สวัสดีครับผม เดวิด อยู่เป็นสุข หรือเพื่อนๆ ในวงการเรียกว่า ซิดนีย์ สังกัดทีม Inner Line - BRP - TPR Project
Boxzaracing : ใช้รถรุ่นไหนในการแข่งขัน ตกแต่งอะไรไปบ้างทั้งภายนอกและภายในเดวิช อยู่เป็นสุข : ผมใช้ Toyota Altezza เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง ภายนอกก็ได้ตกแต่งโดยการตีโป่งและออกแบบชุดแต่งรอบคันผมเป็นคนออกแบบ และ เปี๊ยก 3 ช่า Widebody ฝากระโปรงหน้า-หลัง, ประตูทั้ง 4 บาน ถูกลดน้ำหนักโดยใช้ไฟเบอร์แทนของเดิมที่เป็นเหล็ก ภายในรถแข่งทำการรื้อทุกสิ่งที่ติดมาจากโรงงานออกหมด แล้วเสริมความแข็งแรงให้กับห้องโดยสารโดยการตีโรลบาร์ เบาะ Bucket Seat จาก Recaro พวงมาลัย OMP ส่วนเกจ์วัดก็เลือกติดเฉพาะที่จำเป็นเพราะตัวจอแสดงผล AEM ก็รายงานผลแทบจะครบทุกอย่าง ด้านความปลอดภัยถังน้ำมันเชื้อเพลิง, ถัง A, ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง และถังดับเพลิงติดตั้งอยู่ทางด้านหลังคนขับเพื่อ Balance น้ำหนักให้อยู่กึ่งกลางรถมากที่สุด
Boxzaracing : การโมดิฟายเครื่องยนต์เดวิช อยู่เป็นสุข : สำหรับ Altezza คันนี้ใช้เครื่องยนต์ รหัส 3S-GE Beams เครื่องยนต์ 4 สูบแถวเรียง ความจุ 2,000 ซีซี. พร้อมเกียร์ธรรมดา 6 สปีด มาจากโรงงาน ถือว่าเป็นรถที่มีพละกำลังอยู่พอสมควร แต่อาจจะไม่เพียงพอกับการแข่งขันจึงทำการส่งไปโมดิฟายที่สำนัก Boon Racing Pattaya ไส้ใน ลูกสูบ-ก้านสูบ-ข้อเหวี่ยง ยังเป็นของเดิม ส่วนที่ทำเพิ่มก็คือ ปาดฝาสูบ เปลี่ยนแคมชาร์ฟมาใช้ของ TRD ส่วนท่อทางเดินน้ำมันเปลี่ยนใหม่หมดดูแลโดย Boon Racing Pattaya
Boxzaracing : เซ็ทช่วงล่างอย่างไรเดวิช อยู่เป็นสุข : สำหรับรถแข่งของผมคันนี้ยังใช้พื้นฐานช่วงล่างเดิม เปลี่ยนโช๊คอัพ+สปริงมาใช้ของ TRD ตรงรุ่น แต่ได้เพิ่มชุดปรับมุมองศาล้อของ ORT ซึ่งสามารถปรับมุมองศาได้อย่างที่รถแข่งเซอร์กิตทำได้
Boxzaracing : ให้เล่าถึงความเป็นมาก่อนจะมาแข่งรถเซอร์กิตเดวิช อยู่เป็นสุข : จริงๆแล้วถ้าเป็นคนที่อยู่ในวงการรถซิ่ง จะรู้จักผมและคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดีเพราะผมเริ่มต้นแข่งรถในรูปแบบแดร็ก หรือ Drag Racing มาก่อน ถ้านับกันจริงๆก็ร่วมๆ 10 ปีที่แข่งอยู่ในวงการ Drag ส่วนการแข่งแบบเซอร์กิตปีนี้เป็นปีที่ 3 ที่เข้ามาแข่งแบบเต็มตัว
Boxzaracing : ความแตกต่างระหว่าง Drag และ Circuitเดวิช อยู่เป็นสุข : ความแตกต่างอันดับแรกคงเป็นการเตรียมความพร้อม เพราะ Circuit รถแข่ง+นักแข่ง+ชุดแข่ง ส่วน Drag ทุกอย่างต้องเตรียมพร้อมทุกสนามไม่ว่าจะทีมงานหรือยางต้องใหม่ทุกสนาม ด้านการขับ Circuit ต้องใช้ทักษะในการขับสูงขึ้นเป็นการพัฒนาการขับ Drag ไปพร้อมๆ ในเรื่องของการออกตัวและการแก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้า
Boxzaracing : ความรู้สึกของรถขับเคลื่อนล้อหน้า และขับเคลื่อนล้อหลังเดวิช อยู่เป็นสุข : ปีที่แล้วจะเป็นการลองขับ วิ่งอยู่ 2 สนามซึ่งผมชอบฟีลลิ่งแบบนี้ของรถขับหลัง ปีนี้ก็เลยทำการลดน้ำหนักแล้วก็โมดิฟายเครื่องยนต์ให้ตรงกับกติกา เพราะผมเองก็เคยขับทั้งรถแข่งทั้งรถขับเคลื่อนล้อหน้า และรถขับเคลื่อนล้อหลัง ผมรู้สึกว่ารถขับหลังมีความมั่นคงมากกว่า แล้วก็รถขับหลังน่าจะไปได้เร็วกว่ารถขับหน้า
Boxzaracing : ผลงานการแข่ง Drag และ Circuitเดวิช อยู่เป็นสุข : เมื่อ 2 ปีก่อนผมลงแข่งรายการ Souped Thailand Record ก็ได้อันดับที่ 2 ในรุ่น Over all ส่วนปีที่ผ่านมา ลงแข่งรายการ Pro.Racing Series รุ่น Thailand Touring Car Class C ได้คะแนนรวมอันดับที่ 2 ในปีนี้ก็พยายามทำผลงานให้ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ
Boxzaracing : ฝากผลงานกับชาว Boxzaracing.comเดวิช อยู่เป็นสุข : อยากจะฝาก Altezza คันนี้กับชาว Boxzaracing.com ไม่ว่าจะเจอรถแข่งคันนี้ หรือรถคันอื่นๆ ในทีมของ Inner Line ช่วยกันออกความเห็นได้เลยครับ สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook