เขียนโดย: IronCaptain

เมื่อ: 7 กรกฏาคม 2558 - 18:55

Ford เปิดตัวเทคโนโลยีสุดล้ำสมัย พร้อมโครงการ MyEnergi Lifestyle ในงาน CES Asia 2015

 

Ford เปิดตัวเทคโนโลยีสุดล้ำสมัย พร้อมโครงการ MyEnergi Lifestyle ในงาน CES Asia 2015



          ฟอร์ดเดินหน้าขนทัพนวัตกรรมเพื่อยานยนต์แห่งอนาคตสู่เวที CES Asia 2015 ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มาพร้อมความครบครันทั้งเทคโนโลยีขั้นทดลองภายใต้แผนการสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) และระบบเชื่อมต่อภายในรถยนต์รุ่นล่าสุด รวมถึงแนะนำแนวคิดเพื่อวิถีชีวิตแบบประหยัดพลังงานภายใต้โครงการ MyEnergi Lifestyle ในประเทศจีนเป็นครั้งแรก เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของฟอร์ดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล่าสุด เพื่อกำหนดทิศทางของโลกยานยนต์ในอนาคต

          นอกจากนี้ ฟอร์ดยังประกาศเปิดตัวโครงการ GoDrive ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้พักอาศัยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จำนวน 2,000 คน ได้ร่วมทดลองระบบการแบ่งใช้รถยนต์รูปแบบใหม่ ด้วยรถยนต์จำนวน 50 คัน เพื่อการขับขี่และโดยสารของสมาชิกโครงการ พร้อมให้บริการครอบคลุมพื้นที่ตัวเมืองด้วยจุดบริการกว่า 20 จุด

          บูธของฟอร์ดในงาน CES Asia 2015 จะจัดแสดงเทคโนโลยีขั้นทดลองจากสองโครงการภายใต้แผนการสัญจรอัจฉริยะ พร้อมด้วย ระบบสั่งงานด้วยเสียง ซิงค์ 3 ซึ่งเป็นระบบการเชื่อมต่อภายในรถยนต์รุ่นล่าสุดของฟอร์ด

          นอกจากนั้นยังจัดแสดงรถยนต์ ฟอร์ด โฟกัส ใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้นิทรรศการวิถีชีวิตแบบประหยัดพลังงาน MyEnergi Lifestyle รวมถึงรถซูเปอร์คาร์ ฟอร์ด จีที ใหม่ และไฮไลท์อื่นๆ อีกมากมาย



          “ฟอร์ดได้คิดค้นนวัตกรรมอันน่าตื่นตาตื่นใจมาโดยตลอดในรอบศตวรรษ เนื่องจากเราต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนนับล้านทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น” มร. จอห์น ลอว์เลอร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของฟอร์ด ประเทศจีน กล่าว

          มร. จอห์น ลอว์เลอร์ กล่าวเสริมว่า “ผลงานการคิดค้นภายใต้แผนการสัญจรอัจฉริยะที่นำมาจัดแสดงในงาน CES Asia ครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าล่าสุดจากฟอร์ดในการยกระดับประสบการณ์การขับขี่ และมอบความสะดวกสบายในการเดินทางสัญจรให้กับทุกคน”

          ฟอร์ดได้สร้างสรรค์แผนการสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) ขึ้นเพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้ม และทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมในอนาคต โดยในระยะแรกของแผนการ ฟอร์ดได้ทำการทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มุ่งตอบโจทย์ใน 4 เทรนด์สำคัญของโลก อันได้แก่จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มชนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้น ปัญหาด้านคุณภาพอากาศ สุขภาพ ทัศนคติที่ และความต้องการเปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะมุ่งในการจัดการกับข้อจำกัดด้านการเดินทางสัญจรในระดับส่วนบุคคลอีกด้วย



          “ภายใต้แผนการสัญจรอัจฉริยะนี้ ฟอร์ดได้ลงมือพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้า รวมถึงปูทางเข้าสู่ยุคใหม่ของการคมนาคมอย่างเต็มตัว” มร.จิม บัซคอฟสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิจัย และวิศวกรรมชั้นสูงของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าวเสริม

          “ตัวอย่างเช่นโครงการทดลอง GoDrive London ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าร่วมการทดลอง อันจะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสามารถสร้างสรรค์ระบบการแบ่งใช้รถยนต์ที่ตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด”

          บริการแบ่งใช้รถยนต์ที่พัฒนาจากข้อมูลผู้บริโภคโครงการ GoDrive เป็นแผนงานระยะที่สองของฟอร์ดในการทดลองนวัตกรรมบริการเพื่อการขับขี่ในตัวเมือง ในรูปของบริการแบ่งใช้รถภายใต้แผนการสัญจรอัจฉริยะ



          โดยฟอร์ดจะเชิญชวนบุคคลทั่วไปจำนวน 2,000 คนให้เข้าร่วมทดลองใช้งานบริการนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยรถยนต์ฟอร์ด 50 คัน จาก 20 สถานีบริการรอบกรุงลอนดอน ข้อมูลจากการทดลองในระยะแรกเผยว่า ผู้ใช้บริการแบ่งใช้รถยนต์จะพิจารณาการเดินทางแบบเที่ยวเดียว ความสะดวกสบายในการจอดรถ และรูปแบบการคิดราคาที่ไม่ซับซ้อน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โปรแกรมนี้ประสบความสำเร็จได้

          “การทดลองโครงการ GoDrive ในระยะแรก ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก เราจึงตื่นเต้นไม่น้อยที่จะได้ขยายการบริการให้ผู้ขับขี่ได้ทดลองกันเป็นจำนวนมากขึ้น เพื่อร่วมกันเรียนรู้ว่าบริการแบ่งใช้รถยนต์ที่ดีที่สุดจะมีลักษณะเป็นอย่างไร” มร.บัซคอฟสกี้กล่าว

          “เมืองใหญ่ทุกวันนี้มีประชากรหนาแน่น และการมีรถยนต์เป็นของตนเองก็อาจไม่ใช่คำตอบที่คุ้มค่าหรือสะดวกสบายที่สุดเสมอไปสำหรับการเดินทางสัญจร ฟอร์ดจึงเดินหน้าทดลองบริการแบ่งเช่ารถนี้ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก เพื่อปรับแต่งให้บริการในรูปแบบนี้สามารถอำนวยความสะดวกในการสัญจรได้ทั่วโลก”

          ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ฟอร์ดได้ร่วมมือกับซูมคาร์เพื่อทดลองบริการแบ่งใช้รถในชุมชนระบบปิด โดยมุ่งพัฒนาให้เกิดบริการที่เอื้อต่อการแบ่งใช้งานรถยนต์ร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้านในอพาร์ทเมนต์ หรือครอบครัวเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคที่ไม่สามารถซื้อรถยนต์ไว้เป็นของตัวเองได้ และผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์เป็นประจำ ได้รับประโยชน์กันอย่างถ้วนทั่วบริการแบ่งใช้รถยนต์ในบังกาลอร์ ใช้รถยนต์ ฟอร์ด เอคโค่สปอร์ต 3 คัน ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลในตัวรถ



          โดยข้อมูลจากอุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะถูกนำไปวิเคราะห์ทั้งในด้านเส้นทางการขับขี่ และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ เพื่อนำไปวางระบบตารางเวลา และสิทธิการใช้งานรถยนต์ต่อไป

          ฟอร์ดได้ผนึกกำลังกับผู้นำจากวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และโซลูชั่นการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อเปิดตัวโครงการนำร่อง MyEnergi Lifestyle ในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง โดยมุ่งเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงคุณประโยชน์จากการเลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานต่างๆ แนวคิด MyEnergi Lifestyle นี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และรถยนต์แบบปลั๊ก-อิน ไฮบริด จะช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครอบครัวลดลงเป็นอย่างมาก ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย

          “การสร้างกระแสการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ถือเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ท้าทายที่สุดที่เราต้องเผชิญ” มร.ไมค์ ทินสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายยานพาหนะไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เผย “ไม่มีบุคคล ผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทใดที่จะสามารถตอบโจทย์นี้ได้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เราจึงรู้สึกตื่นเต้นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานอย่างไฮเออร์ ทรินา โซลาร์ และเดลตา อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้นในอนาคต ทั้งในประเทศจีน และทั่วโลก” โครงการนำร่อง MyEnergi Lifestyle ในประเทศจีนเป็นผลงานการพัฒนาของฟอร์ดและนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย โดยคาดว่ารูปแบบไลฟ์สไตล์ตามคำแนะนำของโครงการนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงานลงได้ถึง 63% หรือแบ่งออกเป็นค่าไฟฟ้าที่ลดลง 40% และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงอีก 69% คิดเป็นมูลค่ารวมราว 9,400 หยวนต่อปี ส่วนระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะลดลงถึง 45% หรือคิดเป็นปริมาณกว่า 6,828 กิโลกรัม นอกจากนี้ ปริมาณการปล่อยก๊าซและอนุภาคที่ก่อให้เกิดมลภาวะก็จะลดลงเป็นอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยอนุภาค PM2.5 และ PM10 ที่ลดลง 32% และ 35% ตามลำดับ หรือระดับการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ และซัลเฟอร์ออกไซด์ที่ปรับตัวลงกว่า 38%

          เปลี่ยนรูปแบบการจอดรถด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคในงาน CES Asia ครั้งนี้ ฟอร์ดจะทำการจัดแสดง 2 เทคโนโลยีการขับขี่ล่าสุดที่กำลังทดสอบอยู่ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ระบบเคลื่อนย้ายรถยนต์ทางไกล (Remote Repositioning) และระบบค้นหาช่องจอดว่าง (Parking Spotter)สำหรับการทดลองระบบเคลื่อนย้ายรถยนต์ทางไกลนั้น ฟอร์ดและสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมไว้ภายในรถกอล์ฟคันหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมรถคันนี้จากทางไกลได้ ผ่านทางการเชื่อมต่อไร้สายแบบ LTE

          “เมื่อติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถขับรถกอล์ฟคันนี้จากระยะไกลได้ ราวกับการเล่นเกมเลยทีเดียว” มร.บัซคอฟสกี้ กล่าว

          มร.บัซคอฟสกี้ กล่าวเสริมว่า “เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของบริการแบ่งใช้รถยนต์ หรือเรื่องเล็กๆ เช่นการหลบฝนโดยให้รถเคลื่อนมาหาผู้ขับขี่ แทนที่จะต้องออกไปลุยฝนด้วยตัวเอง”

          ในกรณีของบริการแบ่งใช้รถยนต์นั้น เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ควบคุมให้รถยนต์เดินทางจากจุดจอดล่าสุดไปยังจุดที่ลูกค้าคนถัดไปรออยู่โดยไม่ต้องมีผู้ขับขี่ในตัวรถ ทั้งยังอาจนำไปสู่บริการรับจอดรถที่แพร่หลายยิ่งขึ้น และมีราคาถูกกว่าในปัจจุบันอีกด้วยส่วนระบบค้นหาช่องจอดว่าง เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างฟอร์ด และสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียในการทดสอบเทคโนโลยี โดยนำข้อมูลที่เก็บได้จากระบบโซนาร์และเรดาร์ ซึ่งมีติดตั้งอยู่ในรถยนต์ฟอร์ดอยู่แล้ว มาใช้ค้นหาช่องจอดที่ใช้การได้ รถยนต์ที่ติดตั้งระบบทดลองนี้จะขับขี่ไปรอบๆ ลานจอดรถด้วยความเร็วที่ต่ำกว่า 10 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อค้นหาช่องจอดที่ยังว่างอยู่ ก่อนจะอัพโหลดข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ที่เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ขับขี่รายอื่นๆ สามารถหาที่จอดรถได้สะดวกยิ่งขึ้น เทคโนโลยีระบบค้นหาช่องจอดว่างนี้อาจช่วยลดความกังวลใจของผู้ขับขี่ในขณะหาช่องจอด และยังช่วยประหยัดเวลาในการจอดรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีรถยนต์สัญจรหนาแน่น

          “นวัตกรรมขั้นทดลองเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของฟอร์ดในการพลิกโฉมนวัตกรรมยานยนต์ในยุคแห่งเทคโนโลยีนี้” มร.บัซคอฟสกี้กล่าว “โครงการทดลองทั้งสองที่จัดแสดงที่งาน CES นี้นำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ในรูปแบบใหม่ จนสามารถก้าวผ่านขีดจำกัดที่มีอยู่เดิมในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการสัญจรสำหรับทุกคน”

          จับมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยพันธมิตร เดินหน้าทดลองนวัตกรรมในประเทศจีนในงาน CES Asia นี้ ฟอร์ดยังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฉงชิ่ง และสถาบันวิจัยเชิงวิศวกรรมเพื่อระบบคมนาคมอัจฉริยะแห่งฉงชิ่ง เพื่อพัฒนาโมเดลต้นแบบที่มีความแม่นยำและคาดการณ์ได้มากขึ้นสำหรับบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ยานพาหนะหลายรูปแบบ

          โดยโครงการวิจัยนี้จะใช้รถโดยสารประจำทางจำนวน 8,900 คันที่ติดตั้งอุปกรณ์ GPS ให้บริการบนเส้นทางรวมทั้งสิ้น 520 สายในเมืองฉงชิ่ง เก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลและวิเคราะห์หาวิธีการลดเวลาเดินทางและการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในแต่ละสาย ทั้งยังแจ้งให้ผู้โดยสารทราบถึงระยะเวลาการรอรถโดยละเอียดด้วยข้อมูลตรงเกี่ยวกับการเดินทางและเวลาการมาถึงแบบเรียลไทม์จากรถประจำทาง

          “โดยส่วนใหญ่แล้ว โมเดลที่ใช้คาดการณ์เวลาที่รถจะเดินทางมาถึงของรถประจำทางในประเทศจีนจะใช้จำนวนป้ายจอดที่อยู่ระหว่างผู้ใช้และตัวรถเองเป็นตัวแปรในการคิดคำนวณ” มร.บัซคอฟสกี้เผย “ด้วยการเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เราจึงสามารถปรับระบบตารางเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้สัญจรสามารถใช้เวลาการเดินทางของตนได้คุ้มค่ายิ่งขึ้น และเลือกเดินทางต่อด้วยรถไฟหรือรถไฟใต้ดินได้โดยสะดวก”

          นอกจากระบบดังกล่าวนี้แล้ว ฟอร์ดยังเผยถึงการดำเนินงานในการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้งานระบบขนส่งมวลชนของนครปักกิ่ง โดยบริษัทจะร่วมมือกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เพื่อนำผลงานจากโครงการวิจัยในเมืองพอร์ทแลนด์ รัฐโอเรกอน ที่จัดทำขึ้น เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเดินทางไม่ว่าจะเป็นการขับขี่รถยนต์ รถจักรยาน เดินเท้า และการใช้ระบบขนส่งมวลชน มาประยุกต์ใช้ในประเทศจีน

          สำหรับงานวิจัยในปักกิ่งนี้จะครอบคลุมผู้สัญจรจำนวน 2,000 คน จากพื้นที่ถนนวงแหวนรอบเมืองทั้ง 6 สาย และบริการขนส่งมวลชนถึง 8 รูปแบบด้วยกัน

          ระบบการเชื่อมต่อแห่งอนาคต และผู้สนับสนุนแพลตฟอร์ม “แอพลิงค์” ผู้เข้าชมบูธฟอร์ดในงาน CES Asia ทุกท่านจะมีโอกาสได้สัมผัสกับ ระบบสั่งงานด้วยเสียง ซิงค์ 3 ซึ่งเป็นระบบเพื่อการเชื่อมต่อในตัวรถรุ่นล่าสุดของฟอร์ด ซึ่งมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่เหนือชั้นกว่า การรองรับคำสั่งด้วยเสียงที่กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมด้วยเมนูและระบบทัชสกรีนที่เข้าใจง่าย ใช้ควบคุมทั้งอุปกรณ์เพื่อความบันเทิง เครื่องปรับอากาศ สมาร์ทโฟน และอื่นๆ อีกมากมาย

          “ฟอร์ด ซิงค์ 3 จะช่วยให้ผู้ขับขี่ยังคงเชื่อมต่ออยู่กับทุกด้านของชีวิตแม้ในขณะเดินทาง” มร.โจ เบเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการเชื่อมต่อในรถยนต์ของฟอร์ด เอเชียแปซิฟิกและยุโรป กล่าว “ด้วยแพลตฟอร์ม แอพลิงค์ ผู้ขับขี่รถยนต์ฟอร์ดจะมีวิธีการใหม่ๆ ในการใช้งานแอพพลิเคชั่นโปรดในมือถือ โดยที่ไม่ต้องปล่อยมือจากพวงมาลัยหรือละสายตาจากท้องถนนเลย”

          ในโอกาสนี้ ฟอร์ดได้เปิดตัวความร่วมมือกับผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มแอพลิงค์อีก 3 ราย เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ใช้งานแอพยอดนิยมจากสมาร์ทโฟนอย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็น Ximalaya ผู้ให้บริการคอนเทนท์เสียงชั้นนำของจีน ครอบคลุมทั้งข่าว หนังสือเสียง รายการตลก และอื่นๆ Radio.cn สถานีวิทยุออนไลน์ที่ครบครันทั้งรายการสดและเทปบันทึกรายการจากสถานีวิทยุแห่งชาติของจีน และ NetEase แอพสตรีมเพลงที่สามารถเรียกฟังกันได้แบบออนไลน์โดยไม่ต้องดาวน์โหลด

          ส่วนบริการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินรุ่นล่าสุด ซึ่งใช้ระบบซิงค์ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ก็จะนำมาเปิดตัวในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้ โดยระบบดังกล่าวจะติดต่อเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางโทรศัพท์ทันทีที่พบว่าถุงลมนิรภัยทำงาน หรือมีการปิดสวิทช์ปั๊มเชื้อเพลิงในกรณีฉุกเฉิน เพื่อแจ้งการเกิดอุบัติเหตุพร้อมด้วยข้อมูลพิกัด GPS สำหรับในรุ่นล่าสุดนี้ ฟอร์ดสามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบถึงข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการชน (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง หรือพลิกคว่ำ) สถานะการใช้เข็มขัดนิรภัย จำนวนครั้งการชน และสถานะของระบบถุงลมนิรภัย

          “ฟังก์ชันใหม่ของระบบช่วยเหลือฉุกเฉินที่จะนำมาเปิดตัวในประเทศจีนนี้จะส่งมอบข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัย เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” มร.เบเซอร์เสริม

          ผู้เข้าชมที่บูธฟอร์ดในงาน CES Asia จะได้ทดลองใช้งานแอพต่างๆ บนแพลตฟอร์ม ฟอร์ด แอพลิงค์และซิงค์ 3 ทั้งยังได้ใกล้ชิดกับซูเปอร์คาร์ ฟอร์ด จีที รุ่นล่าสุด และพบกับประสบการณ์การใช้งาน ซิงค์ 2 แบบเสมือนจริง (Virtual Reality) ด้วยอุปกรณ์ Oculus Riftงาน CES Asia 2015 จะจัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการนานาชาติใหม่ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในวันที่ 25 ถึง 27 พฤษภาคมนี้

 

 

 

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook