เขียนโดย: RaiToZ Boxza

เมื่อ: 24 มกราคม 2563 - 11:08

กันสะบัดไฟฟ้า Electronic Steering Damper คืออะไร ? ทำไม Bigbike ต้องติดตั้งมาให้ ?

          ครั้งที่แล้วทางทีมงาน BoxzaRacing ได้นำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อย ๆมาแนะนำเพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องเจ้า กันสะบัด หรือ Steering Damper กันไปบ้างแล้ว ว่ามันมีหน้าที่อย่างไรและมีประโยชน์กับเราอย่างไร กับเราบ้าน ทั้งกันสะบัดแบบก้อนหรือแบบแท่ง แต่วันนี้เราจะพามารู้จักกับ กันสะบัดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นแบบอัพเกรดขึ้นมาจากแบบเก่าที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้สึกของคนขับ แล้วทำการปรับตั้งค่า ความหนืด-ความลื่น ที่ตัวกันสะบัดเอง เพื่อที่หักเลี้ยวได้ยากกว่าปรกติ ซึ่งเป็นประโชยน์มากเวลาใช้ความเร็วสูง แต่ จะทำให้ขับลำบากเมื่อลดความเร็วลง แต่ถ้าหากเราพูดถึงกันสบัดที่ปรับได้ตามความเร็วของรถโดยที่เราไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันเลยล่ะ จะดีแค่ไหน  วันนี้ทีมงาน BoxzaRacing  จะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักกับ เจ้าสิ่งที่เรียกว่า ESD (Electronic Steering Damper) หรือที่หลายๆคนรู้จักกันว่า กันสบัดไฟฟ้านั่นเองครับ เรามารู้จักประวัติของมันกันก่อนครับ

 

Honda Electronic Steering Damper ประจำการครั้งแรก บน CBR1000RR 2014

 

         ESD หรือ กันสะบัดไฟฟ้า ถูกเริ่มนำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยค่ายปีกเหล็ก Honda นั่นเอง โดยตอนนั้น Honda มีแนวคิดที่ว่า ต้องการให้ เจ้า CBR1000rr FireBlade เป็นรถที่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งชีวิตประจำวันที่ต้องเผชิญรถติด รวมไปถึง การขับท่องเที่ยวออกทริปที่ต้องใช้ความเร็วสูง หรือแม้กระทั่งการยืดเส้นยืดสายในสนามอีกด้วย จะได้ไม่ต้องมาปรับตั้งค่า กันสบัด เพื่อให้เหมาะกับใช้งานบ่อยๆ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ผู้ขับขี่จะต้องทำการปรับแต่งระดับความหนืดของกันสบัดเอง  ฉะนั้น Honda จึงได้ออกแบบ เจ้ากันสบัดไฟฟ้า โดยให้ชื่อ ว่า HESD ( Honda Electronic Steering Damper) และนำมาประจำการบน CBR1000rr 2004 เป็นครั้งแรก

 

ภายในกันสบัดไฟฟ้า ยุคแรกๆ

 

แผนผังการทำงานของ ESD ที่ทำให้เข้าใจระบบอันซัพซ้อนได้ง่ายมากขึ้น

 

          โดยการทำงานคร่าวๆ ของ ESD หรือ เจ้ากันสะบัดไฟฟ้า จะทำงานควบคู่กับกล่องสมองกลของรถ นั่นคือ ECU โดยประมวลผลจากความเร็วของรถ ณ ช่วงเวลานั้นๆ  สั่งการกันสะบัด โดยหลักการทำงานคือควบคุมน้ำมันที่อยู่ใน ตัวกันสบัด ให้เยอะหรือน้อย  โดยที่ภายในตัวกันสะบัดเองนั้นจะแบบเป็น 2 ห้อง ซ้ายและขวา กล่าวคือหากรถใช้ความเร็วสูงในทรงตรง ระบบจะทำการประมวลผล จากนั้นน้ำมันจะถูกเติมเข้าใปภายในทั้ง 2 ห้อง จนเกือบเต็ม ส่งผลคือ แผงหนักขึ้น ฝืดขึ้น การหักเลี้ยวเป็นไปได้ยากมากขึ้นกว่าเดิม เกิดโอกาศหน้าสบัดได้น้องลงนั่นเองครับ กลับกัน หากรถไม่ได้ใช้ความเร็วสูง น้ำมันจะถูกสูบออก ทำให้ แผงคอเบาลง ลื่นขึ้น และเลี้ยวได้ง่ายมากขึ้นนั่นเองครับ รวมไปถึงการหักเลี้ยว ซ้าย-ขวา ระบบจะทำการแปรผัน น้ำมันในตัวกันสะบัด ในห้องทาง ซ้ายหรือวา ให้มากกว่ากัน ตัวอย่างเช่น หากเลี้ยวซ้าย กันสบัดจะ ทำการสูบน้ำมันที่ห้องขวาออกและนำไปเพื่มให้กับ ห้องทางซ้าย ทำให้ การหักเลี้ยวไปทางด้านซ้ายทำได้ง่ายขึ้น นั่นเองครับ

 

Adaptive Electronic Steering Damper ของค่ายเขียว

 

         ภายหลังต่อมาไม่กี่ปี ค่ายอื่นๆก็เริ่มทยอยที่จะให้ ESD มาเป็นของมารฐานติดรถกันแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ล่าสุดเมื่อปี 2014 ค่ายเขียว Kawasaki ที่เปิดตัว AESD ( Adaptive Electronic Steering Damper) ที่พัฒนาร่วมกับทาง ค่ายโช๊คอัพยักษ์ใหญ่ Öhlins จนคลอดออกมาเป็น AESD ซึ่งเจ้า AESD ก็ได้ประจำการอยู่บนนินจาสายเขียว Kawasaki ZX-10r โฉม 2014 เป็นครั้งแรก แต่จะว่าไปข้อเสียของ ESD ก็มีนะครับไม่ใช่จะมีแค่ข้อดีที่เราบอกไป เพราะว่าเจ้า ESD นั้นจะไม่สามารถตั้งค่าให้เฉพาะเจาะจงได้เหมือนกับ SD ทั่วไป ถ้ากล่าวกันให้เห็นแบบชัดๆคือ หากมีการออกตัวที่เราๆท่านๆเรียกกันว่า จอดออก นั่นเอง ซึ่งกว่าที่ ECU จะประมวลผลให้กันสบัดทำงาน ก็ เกือบเข้าเส้นชัย ไปแล้ว ทำให้เหมือนว่า item ชิ้นนี้ดูไม่ตอบโจทย์ขาซิ่งบางส่วนที่ต้องการ อะไรที่ ดิบๆ  จึงมีการถอดเจ้า ESD และกลับไปใช้แบบธรรมดากันให้เห็นอยู่ ทั่วไปครับ

 

CBR1000rr 2008 ที่ติดตตั้งกันสะบัด GPR 

 

         จะว่าไปของอย่างนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ความชอบส่วนบุคคล กันล่ะครับ เอาละครับ เป็นอย่างไรบ้างสำหรับ เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ ทำให้เพื่อนๆได้รู้จักเจ้า กันสะบัดไฟฟ้า หรือ ESD ได้มากขึ้น วันนี้ทาง BoxzaRacing ต้องขอลาไปก่อนครับ ครั้งหน้าเราจะมีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยแบบนี้เรื่องอะไรอีก ให้รอติดติดตามกันโอกาศหน้านะครับ..

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook